ศาสนาและการศึกษา

หน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ จัดประชุมรายงานผลดำเนินงาน

%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0

หน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ จัดประชุมรายงานผลดำเนินงานผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการสานพลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะจังหวัดสมุทรปราการ

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 5 กันยายน 2563 ที่ห้องประชุม โรงแรมคัลเลอร์ลีฟวิ่ง ถนนเทพารักษ์ กม. 4 อำเภอเมือสมุทรปราการ หน่วยจัดการด้านเด็กแลเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ จัดประชุมรายงานผลดำเนินงานผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการสานพลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ผู้จัดการหน่วยจัดการด้านเด็กแลเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ นายประสิทธิ์ จันทาเทพ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นายคเณศ กมลพันธ์ กรรมการศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ นายอิทธิพัทธ์ ธีระวรรณสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนมหภาพกระจาดทองอุปถัมป์ นางสาวเบญริสา ตันเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ดร.วิโรจน์ เวทยาวงศ์ ประชาคมงดเหล้าจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์บูรณาการภาคีเครือข่าย ตลอดจน ผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ ตัวแทนเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมประชุม

นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ผู้จัดการหน่วยจัดการด้านเด็กแลเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึง ความเป็นมาผลการดำเนินงาน โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มุ่งเน้นการกระจายโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน โดยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ Walk Rally – Bike Rally & Team Building. รวมจำนวน 4 ครั้ง รวม 16 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ 1) Walk Rally ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ฐานที่ 1 ริบบิ้นเหรียญโปรยทาน ฐานที่ 2 หินสีมงคล ฐานที่ 3 ผ้ามัดย้อม ฐานที่ 4 ปิ่นปักผม 2) Walk Rally บ้านขุนสมุทรจีน ฐานที่ 1 พิพิธภัณฑ์บ้านขุนสมุทรจีน ฐานที่ 2 เรียนรู้เรื่องขยะจากทะเล ฐานที่ 3 วัดขุนสมุทรจีน ฐานที่ 4 การปลูกป่าชายเลน 3) Bike Rally บางหัวเสือ ฐานที่ 1 นักรบเหรียญบาท เด็กดีรักการออมเครือข่ายออมทรัพย์สำโรงใต้ ฐานที่ 2 รักษ์นะ ผลิตภัณฑ์เพื่อการพึ่งตนเอง ฐานที่ 3 ภูมิปัญญาบางหัวเสือ ฐานที่ 4 ตลาดริมน้ำบางหัวเสือ 4) Walk Rally ตลาดน้ำเมืองพระ ฐานที่ 1 ปั้นดินไทย ฐานที่ 2 ชุมชนปลอดถังขยะ ฐานที่ 3 เกษตรชุมชนพึ่งตนเอง ฐานที่ 4 กองทุนแม่

นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมดนตรสากล จุดประกายฝันดนตรีสร้างสุข กิจกรรมสร้างสรรค์วันหยุดที่พัฒนาคุณภาพอารมณ์ได้อย่างดี เพราะการเรียนรู้เครื่องเล่นดนตรี แต่ละประเภทต้องใช้สมาธิ ในการเรียนรู้และฝึกซ้อมมาก ที่สำคัญคือ เป็นกิจกรรมที่มีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เด็กเยาวชนที่เข้าร่วมจึงมีแรงบันดาลใจ ความตั้งใจเรียนรู้เป็นทุนเดิม ประกอบกระบวนการเรียนรู้แบบทีมหรือแบบวง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับตัวแสวงหาประเภทเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับตัวเอง ผลที่เกิดขึ้น ทำให้เยาวชนสามารถค้นพบตนเองได้ และนำกลับต่อยอดได้Walk Rally. – Bike Rally. สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเยาวชนทั้งในระดับกลุ่ม และระดับบุคคลสามารถ สรุปได้ ดังนี้ กระบวนการเรียนรู้ในระดับทีม ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มการระดมสมองวางแผน Walk Rally ทำงานให้เสร็จทันเวลา สร้างร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจร่วมกัน และการมีส่วนร่วมในการทำงาน พัฒนาทัศนคติที่ดีต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน เปิดพื้นที่ให้เกิดการขยายผลกลุ่มเยาวชนเป็นเครือข่ายเพิ่มขึ้น กระบวนการเรียนรู้ในระดับบุคคล เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ความรู้ พัฒนาความเป็นผู้นำ เข้าใจตนเอง ยอมรับตนเองและผู้อื่น พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานหรือการสร้างผลงานด้วยความมั่นใจ ฝึกฝนความอดทน ความรับผิดชอบร่วมกัน พัฒนาความคิด อารมณ์ ลดการใช้โซเชี่ยลมีเดีย มีสมาธิจดจ่อกับการเรียนรู้มากขึ้น เกิดการพัฒนาทักษะอาชีพสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง

ฐานกิจกรรมที่หลากหลายสามารถเรียนรู้ได้ทั้ง เพศชาย เพศหญิง และช่วงอายุ โดยหน่วยจัดการฯ ได้ทำการติดตามสำรวจข้อมูลผลการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กเยาวชน โดยใช้ข้อคำถามเดียวกันในรูปแบบกูเกิลฟอร์ม สอบถามเด็กเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 235 คน จากเด็กเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 310 คน โดย 1 คน สามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ใน 3 กิจกรรม ได้แก่ Walk Rally ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง,Walk Rally.บ้านขุนสมุทรจีน,Bike Rally.,ตลาดริมน้ำบางหัวเสือ (Walk Rally.ตลาดน้ำเมืองพระ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน) พบข้อมูลการเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ 93 คน แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 55 คน ได้รู้จักเพื่อนใหม่ได้สื่อสารแลกเปลี่ยนกับเพื่อน 76 คน ได้ช่วยเหลือเพื่อน และได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน 108 คน รู้สึกสนุก มีสาระ ไม่เครียด 61 คน ชอบทำงานเป็นทีม 88 คน คิดเองทำเอง 50 คน ชอบทำงานกับเพื่อน(เป็นคู่) 85 คน

อย่างไรก็ตาม นอกจากกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่สร้างสรรค์ หน่วยจัดการฯ หนุนเสริมรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ในโครงการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 26 โครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการและได้รับประโยชน์จาก 26 โครงการ จำนวน 1,463 คน หน่วยจัดการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อระดมความคิด(Concept Note.) กระบวนการพัฒนาแผนงาน การติดตามหนุนเสริม ประเมินเสริมพลัง และการจัดการความรู้ โดยในกระบวนการขับเคลื่อนโครงการมุ่งเน้นการ Empowerment. และหนุนเสริมกระบวนการสรุปบทเรียนระหว่างทาง(Critical Knowledge) เพื่อพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนโครงการ และถอดบทเรียน Good-Best Practice.

นายประสิทธิ์ จันทาเทพ ผู้รับผิดชอบโครงการ สานพลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า โครงการ Mix Cover Dance. ที่สร้างสรรค์กิจกรรมทางกายประกอบดนตรี ด้วยท่าเต้นที่เด็กๆคิดค้นขึ้นเอง ทำให้เด็กใช้เวลาว่างทำกิจกรรมี่เกิดประโยชน์ เป็นโครงการตัวอย่างที่มีความโดดเด่น นายคเณศ กมลพันธ์ กรรมการศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึง โครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ในจังหวัดสมุทรปราการ เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมเวลาเรียนรู้ให้เด็กเยาวชนช่วงวันหยุด โดยกิจกรรม Walk Rally สร้างการเรียนรู้ให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ริเริ่มสิ่งใหม่ รู้จักเข้าสังคม เรียนรู้เทคโนโลยี มีความเป็นผู้นำ และมีความรับผิดชอบหน้าที่ในการหมั่นหาความรู้รอบด้านเพื่อพัฒนาตนเอง

นายอิทธิพัทธ์ ธีระวรรณสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนมหภาพกระจาดทองอุปถัมป์ และผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึง โครงการสร้างเสริมสุขภาวะที่หน่วยจัดการฯให้การส่งเสริมสนับสนุนจำนวน 26 โครงการ มีการดำเนินงานที่ช่วยให้เด็กและเยาวชน ครู และผู้ปกครอง สามารถมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในการทำโครงการ การติดตามโครงการ และการสรุปบทเรียน โดยกิจกรรมที่ทำล้วนมีต้นทุนมาจากพื้นที่ของเด็กๆ ที่น่าสนใจ ที่สำคัญ คือ ส่วนใหญ่หลังจบโครงการสามารถดำเนินงานได้เองอย่างต่อเนื่อง ส่วนโครงการที่โดดเด่นจาก 26โครงการ เช่น โครงการรักษ์โขนรักษ์ธรรม โรงเรียนวัดสวนส้มสุขประชานุกูล โครงการศิลปะสร้างอาชีพสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองลัดหลวง โครงการสุนทรีย์ดนตรีมีสุข โรงเรียนคลองสองพี่น้องใจดีอุปถัมป์ โครงการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลเด็กและเยาวชน เสนอให้ยกระดับการถอดบทเรียนค้นหาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมและขยายผลต่อไป

นายอิทธิพัทธ์ ยังกล่าวถึง การทำงานด้านเด็กและเยาวจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีความน่าสนใจเชิงกลไกขับเคลื่อนในจังหวัด และขอขอบคุณการส่งเสริมสนับสนุนสำนักสร้างสรรค์และกระจายโอกาส (สำนัก6) ที่มีบทบาทหลักในการกระจายโอกาส กระจายความรู้ สร้างการรับรู้และโอกาส รวมทั้งผลักดันให้กลุ่มเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรในการเรียนรู้ ดังกล่าว จากตัวเลขที่คุณธิติรายงาน 141 หน่วยจัดการ แต่ละโครงการเฉลี่ยมีมากกว่า 2,000 โครงการทั่วประเทศ นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดความเข้มแข็งได้ในระยะยาว นางสาวเบญริสา ตันเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เสนอให้หน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชนส่งเสริมสนับสนุนเด็กเยาวชนให้เกิดความต่อเนื่อง โดยถอดความรู้โครงการเด่น ให้เกดองค์ความรู้และผลิตสื่อเป็นโมเดล เพื่อเผยแพร่ขยายผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ด้าน ดร.วิโรจน์ เวทยาวงศ์ ประชาคมงดเหล้าจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์บูรณาการภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ กล่าวถึง ทีมสมุทรปราการ A ครูเต้ยจัดให้ได้แชมป์ โดยมีคุณสุรเชษฐ์ โพธิ์อ่อน ประชาคมงดเหล้าจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ ค่านิยมงานบุญประเพณีปลอดภัยและกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นผู้ดำเนินงานฟุตซอล SDN FUTSAL No L Cup Inspired by Thai PBS ซึ่ง ทีมสมุทรปราการ B ที่ได้แชมป์ระดับภาคตะวันออก และได้ที่ 3 ระดับโซนภาคตะวันออก-ภาคตะวันตกและภาคกลาง เป็นทีมในโครงการTNUSลีกคัพในโครงการสานพลังเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะจังหวัดสมุทรปราการ นับว่าประสบความสำเร็จในแง่การต่อยอดขยายผลแม้โครงการดำเนินงานเสร็จสิ้น กลุ่มพี่เลี้ยงโครงการ และโค้ชยังสามารถดำเนินงานต่อเนื่องได้จนเกิดผลเป็นรูปธรรมความสำเร็จ

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*