ท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น, อาชญากรรม

อธิบดี “คพ.” ท่านนี้รัฐมนตรีคนไหนปั้น รัฐมนตรีคนไหนส่งมาเอ่ย?

%e0%b8%ad%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%94%e0%b8%b5-%e0%b8%84%e0%b8%9e-%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%95

การสูญเสียงบประมาณแผ่นดินเกือบ 3 หมื่นล้าน กับโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียที่คลองด่าน จ.สมุทรปราการ ถือเป็นบทเรียนที่เราจะต้องเรียนรู้ และหาทางป้องกันไม่ให้ ”การโกง” “การทุจริต” เกิดขึ้นมาอีกในประเทศไทยการโกงจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมี 3 ประสานที่จะต้องร่วมมือกันคือ นักการเมืองระดับรัฐมนตรี ข้าราชการระดับอธิบดี และพ่อค้าหรือกลุ่มทุน หรือบางครั้งแค่นักการเมืองระดับรัฐมนตรีที่เบื้องหลังเป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่ด้วยแล้ว การโกงจะยิ่งง่ายดายมากมาย เพราะเพียงแค่แต่งตั้งคนระดับอธิบดี ผู้กุมชะตากรรมโครงการนั้นๆ ให้ขึ้นมาใหญ่มาอยู่ในมือ การโกงก็ง่ายไปซะทุกเรื่อง

จากการศึกษากลยุทธ์ “โครงการโคตรโกงคลองด่าน” จะเห็นได้ว่า อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในขณะนั้น เป็นตัวขับเคลื่อนให้โครงการนี้ มีทิศทางไปสู่การโกง การคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร

หากเราสังเกตดูจะเห็นว่า เมื่อ จ.สมุทรปราการถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2536 สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มปั้นโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ผ่านนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน จนจบสิ้นโครงการ แต่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษยังเป็น คนๆ เดิมตลอดกาล เป็นอธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนนี้ที่เดินเรื่องทุกเรื่องราว.. เมื่อมีแผนงานโครงการอะไร ก็มีอธิบดีคนนี้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ…รัฐมนตรีคนไหนปั้น รัฐมนตรีคนไหนส่งมาเอ่ย?เริ่มต้นโครงการ 2 โครงการแรกๆ ที่จะต้องกู้เงินจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) โครงการแรกคือโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม จ.สมุทรปราการ และโครงการที่ 2 โครงการจัดการน้ำเสียและควบคุมมลพิษ เมื่อปี 2537 ก็อธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนนี้เป็นผู้ดำเนินการครั้นเมื่อถึงเวลาต้องว่าจ้างให้ บริษัท มอนโกเมอรี่ วัตสัน เอเชีย จำกัด ศึกษารายงานความเหมาะสมของที่ตั้งระบบบำบัดและศึกษาทางเลือกของระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียสมุทรปราการ วงเงิน 15 ล้านบาท ก็อธิบดีคนนี้แหละเป็นผู้ดำเนินการ

แหล่งข่าวกล่าวว่า “วันนั้นผลการศึกษาสำรวจออกมาว่า พื้นที่ดินบริเวณที่จะสร้างเป็นดินอ่อน ต่ำ มีน้ำทะเลท่วม ไม่เหมาะกับการก่อสร้าง ก็อธิบดีคนนี้แหละเป็นผู้หาวิธีการ เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของที่ดินสร้างโรงงาน แล้วไปจบตรงที่ต้องสร้างบริเวณคลองด่านนี่แหละ”

“เมื่อผลสำรวจ และมติคณะรัฐมนตรีบอกว่าให้สร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย 2 ฝั่ง คือฝั่งตะวันตกบริเวณบางปลากด ฝั่งตะวันออกบริเวณบางปูใหม่ เพราะค่าใช้จ่ายถูกเพียง 13,612 ล้านบาท แต่พลันที่รัฐมนตรีระทรวงวิทยาศาสตร์เสนอว่าควรจะจ้างเป็นแบบเหมารวม ด้วยวิธีการสำรวจออกแบบพร้อมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย โดยให้ผู้รับจ้างเป็นรายเดียวกัน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนนี้ ก็ดำเนินการตามต้องการทันที ด้วยการกำหนดคุณลักษณะของงานขึ้นมาใหม่”

“แม้จะได้รับการท้วงติงจากรัฐมนตรีมหาดไทยเจ้าของพื้นที่ว่า โครงการนี้เป็นโครงใหญ่ ควบคุมพื้นที่เยอะ การก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียอาจไม่เหมาะสม ควรศึกษาให้ละเอียด น่าจะไปทำในพื้นที่ที่มีปัญหาเร่งด่วนที่อื่นก่อนก่อน อธิบดีคนนี้ก็เดินหน้าต่อ ตามเป้าหมายเดิมของรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาตนเอง”

“อธิบดีคนนี้เป็นผู้เลือกว่าจะใช้ที่ดินแปลงใดเป็นที่ก่อสร้าง จึงไม่ปฏิบัติตามมติรัฐมนตรีในหลักการเกี่ยวกับการลงทุน เมื่อ 17 ตุลาคม 2538 เกี่ยวกับการลงทุนจำนวน 13,612 ล้านบาท โดยหาวิธีการให้เพิ่มทุนก่อสร้างเป็น 23,701 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างในเครือรัฐมนตรีเจ้านายตัวเอง ได้ค่าก่อสร้างเพิ่ม ด้วยการกำหนดทำเลใหม่ ไกลจากที่เดิม 20 กม.ต้องปรับปรุงความยาวท่อส่งน้ำเสีย มายังโรงบำบัดที่คลองด่าน ราคาท่อส่งน้ำราคาเมตรละ 170,000 บาท ทุนก่อสร้างเลยสูงขึ้นบานตะไทเป็น 23,701 ล้านบาท ถูกใจเจ้านายเลย”

“วันนั้นในอดีต ก็อธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนนี้ คนเดิม คนเดียว ที่เป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของสัญญาก่อสร้าง รูปแบบการก่อสร้าง การดำเนินงาน แม้จะรู้ว่าบริษัทกิจการร่วมการค้า 6 บริษัทคือ NVPSKG มีถึง 5 บริษัทเป็นแค่บริษัทรับเหมาก่อสร้างถนน ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีผลงานในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียมาก่อนเลย ก็ให้คุณสมบัติผ่านตลอดตั้งแต่การขายเอกสาร การเข้าประกวดราคา จนถึงการเซ็นสัญญาจ้าง”

“เมื่อกลุ่มบริษัทร่วมค้า ยื่นซองเทคนิคให้ก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียโรงเดียว โดยเสนอรวม 2 ฝั่งเข้าด้วยกัน ก็ดำเนินการตามบริษัทเอกชน เป็นคนตัดสินใจเองว่าจะไม่สร้างบ่อบำบัดแยกกัน 2 ฝั่ง”

“เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2539 ยังเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีของโครงการ ในงบเงินประมาณ 13,612 ล้านบาท เป็นกรณีพิเศษอีกด้วย สำรองเงินจ่ายให้บริษัทเอกชนเบ็ดเสร็จ”

“โครงการนี้เริ่มตั้งแต่สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ผ่านมาถึงสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา จนมาอนุมัติงบสมบูรณ์แบบ สมัย พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี แปลกมั้ยที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษวันนั้น ยังเป็นคนคนนี้ คนเดิม คนเดียว และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็หน้าเดิม พรรคเดิมๆ หากเปลี่ยนไปกระทรวงโน้นกระทรวงนี้เท่านั้น”

“ปฏิบัติหน้าที่อยู่หลายปี หลายรัฐบาล พอรัฐบาลอนุมัติงบออกมาแล้ว อธิบดีกรมควบคุมมลพิษคนนี้ ก็ยื่นหนังสือลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 และให้มีผลในวันที่ 16 กันยายน 2540 แต่เพียง 5 วันหลังจากนั้น คือวันที่ 20 สิงหาคม 2540 อธิบดีคนนี้ก็ได้ลงนามในสัญญาจ้างกลุ่มบริษัท NVPKSG (กิจการร่วมค้า) ให้เป็นผู้รับเหมา โดยมีข้อสังเกตว่าก่อนหน้านั้นมีผู้ยื่นซองเข้ามาเพียงรายเดียวคือกลุ่มบริษัทนี้เท่านั้น ซึ่งตามปกติควรจะเสนอหัวหน้าส่วนราชการให้ยกเลิก

แต่กลับเซ็นสัญญาว่าจ้างแบบเหมารวมออกแบบรวมก่อสร้างทั้งหมดทันที”ก็คงหมดภารกิจทาสรับใช้นักการเมือง ตัวเองก็อิ่มหมีพลีมัน กระเป๋าตุง หอบเงินเข้าบ้าน..ส่วนประเทศชาติจะฉิบหายวายป่วง ป่นปี้ …ช่างมัน ฉันไม่แคร์ เนอะ !!!

เครดิต #สืบจากข่าว
#คดีคลองด่าน #บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน #โกงคลองด่าน

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*