ข่าวประชาสัมพันธ์

เปิด 3 วิธี ‘ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น’ เตรียมพร้อมหย่อนบัตรฯ อบจ. 20 ธันวา

%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94-3-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4

ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 รัฐบาลได้จัด ลือกตั้งท้องถิ่น ขึ้นทั่วประเทศ ในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

ประชาชนที่ต้องการตรวจสอบว่า ตัวเองและคนในครอบครัวมีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่ ก็สามารถดำเนินการเช็คได้ง่ายๆ 3 วิธีด้วยกัน

3 วิธี ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น “อบจ.”

การ ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. ได้แก่ การเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายกฯ อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภาฯ อบจ.) เพื่อไปใช้เสียงในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 นี้ สามารถทำได้ง่ายๆ 3 วิธี ใครสะดวกแบบไหน เลือกแบบนั้นเลยจ้า!

1.ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบจ. ที่เลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน 

2. ตรวจสอบรายชื่อจากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน

3.ตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถดำเนินการตรวสอบได้ตั้งแต่วันนี้ เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไป

  • เข้าสู่ลิงก์ของกรมการปกครอง คลิกที่นี่ **จากทดลองใช้พบว่า ระบบค่อนข้างช้า ขอให้ประชาชนใจเย็นๆ 
  • กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก จากนั้นกด “ค้นหา”
  • ปรากฎผลการตรวจสอบสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น

ถ้าไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะขึ้นว่า “ผลการตรวจสอบ ไม่พบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”

ถ้าเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งนายกฯ และสภาฯ อบจ. ระบบก็จะแจ้งรายละเอียดการเลือกตั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ว่า มีสิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดใด รายชื่อของผู้มีสิทธิ เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง ลำดับในบัญชีรายชื่อ รวมถึงมีสิทธิเลือกตั้งอะไรบ้าง

ถ้าหากตรวจสอบแล้วพบปัญหา! ดังนี้

  • ตนเองหรือผู้มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • เจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตน โดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง

ก็ขอให้ประชาชนยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อ ขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ในการ เลือกตั้งท้องถิ่น นายกฯ อบจ. หรือสภาฯ อบจ. ครั้งนี้ ประชาชนจะสามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
  • คุณสมบัติอื่น ตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

ขณะเดียวกันก็มีการกำหนด “ลักษณะต้องห้าม” มิให้ใช้สิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น สำหรับบุคคลต่อไปนี้

  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  • ต้องคุมขังอยู่ โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย
  • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  • มีลักษณะอื่น ตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

หลักฐานแสดงตน “เลือกตั้งท้องถิ่น”

  • บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
  • บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ, ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น

ไปเลือกตั้งไม่ได้ ควรแจ้งเหตุ!

สำหรับผู้มีสิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น ในครั้งนี้ แต่ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ เนื่องจากมีเหตุผลจำเป็น ก็ควรแจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิทางการเมืองในอนาคต

โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว แต่ในวันเลือกตั้งไม่ได้ติดธุระหรือมีความจำเป็นใดๆ แล้ว ก็ยังสามารถไปใช้สิทธิ เลือกตั้งท้องถิ่น ที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*