ข่าวประชาสัมพันธ์

กรมศุลกากร แถลงข่าวประจำเดือนพฤษภาคม 2563

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3-%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88

วันนี้ (วันพุธที่ 10 มิถุนายน 2563) เวลา 11.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากร นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวว่า อธิบดี กรมศุลกากร มีนโยบายให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย โครงการ และประเด็นต่าง ๆ โดยมอบหมายให้คณะโฆษกกรมศุลกากรและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และได้กำหนดให้มีการแถลงข่าวประจำทุกเดือน สำหรับประเด็นที่น่าสนใจ ในการ แถลงข่าวประจำเดือนมิถุนายน 2563 ได้แก่ (1) ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนพฤษภาคม 2563 (2) องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ปรับปรุงและเผยแพร่ประเภทพิกัดศุลกากร ในระดับ 6 หลักสำหรับสินค้าทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 (3) กรมศุลกากรขอแจ้งเตือนโปรดอย่าหลงเชื่อกรณีหลอกลวง ซึ่งมีรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (1) ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ตามที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายสำคัญในการเร่งรัดปราบปราม การลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรม ในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้น จับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร น้ำมัน ยาเสพติด IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITES

โดยสืบสวน หาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดัง บ้านเรือน แหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาซึ่งมีความเสี่ยง ที่เพิ่มขึ้นในการลักลอบ นอกจากนี้ มีการบูรณการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทหาร กอ.รมน. ปปส. บช.ปส. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูต ต่างๆ Interpol DEA เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกัน สำหรับเดือนพฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรตรวจพบการกระทำผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรได้ทั้งสิ้น 1,704 คดี คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 62 ล้านบาท โดยสินค้าที่ตรวจพบ การกระทำความผิดที่สำคัญ ได้แก่ ยาเสพติดให้โทษประเภทเอ็กซ์ตาซี่ บุหรี่ ทั้งนี้ กรมศุลกากรตรวจพบ การกระทำความผิดในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – พฤษภาคม 2563 ทั้งสิ้น 17,573 คดี คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,364 ล้านบาท ผลงานที่น่าสนใจในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 มีดังนี้

1. ยาเสพติดให้โทษประเภทเอ็กซ์ตาซี่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ตรวจพบพัสดุต้องสงสัย จึงประสานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. เจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกันเปิดตรวจพัสดุดังกล่าว จำนวน 6 หีบห่อ ต้นทางจากต่างประเทศ ผลการตรวจสอบพบเม็ดยาสีน้ำตาล ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (Ecstasy) จำนวนรวม 6,090 เม็ด บรรจุอยู่ในถุงฟลอยด์ ห่อกระดาษสีม่วง รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 4.9 ล้านบาท / (2) องค์การ…

2. กัญชา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรตรวจยึดพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ จำนวน 3 หีบห่อ ผลการเปิดตรวจร่วมกับพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พบเป็นกัญชาแห้งบรรจุในถุงพลาสติก ซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 น้ำหนักรวมทั้งสิ้นประมาณ 0.287กิโลกรัม รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 57,400 บาท

3. บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า 3.1 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจยึดบุหรี่ที่มีการลักลอบนำเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรอย่างถูกต้อง ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รวม 100,000 มวน รวมมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 423,000 บาท 3.2 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจยึดบุหรี่มีการลักลอบนำเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรอย่างถูกต้อง จากบริเวณพงหญ้าท้ายตลาดชายแดนบ้านแหลม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี รวม 60,000 มวน รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 450,000 บาท 3.3 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจค้นสินค้า ณ บริษัท เอกชน แห่งหนึ่ง ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผลการตรวจค้นพบเครื่องบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 120 เครื่อง และหัวสูบบรรจุน้ำยา บุหรี่ไฟฟ้า 3,300 ชิ้น รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 400,000 บาท

4. กระเทียม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรร่วมกับทหาร กกล.สุรศักดิ์มนตรี และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ท าการตรวจยึดกระเทียม จำนวน 1,308 กิโลกรัม ที่บ้านธาตุพนมเหนือ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 33,500 บาท

5. เนื้อกระบือแช่แข็ง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจค้นรถยนต์กระบะบรรทุก จำนวน 2 คัน พบเนื้อกระบือแช่แข็งบรรจุกล่องกระดาษ กล่องละ 20 กิโลกรัม จำนวนรวม 400 กล่อง น้ำหนักรวม 8,000 กิโลกรัม โดยไม่พบเอกสารหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากร และหนังสืออนุญาตการขนย้ายเนื้อกระบือแช่แข็ง ที่นำเข้าจากต่างประเทศแต่อย่างใด ที่บริเวณใกล้ปั๊มน้ำมัน PT อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด และหน้าวิทยาลัยการอาชีพ โพนทอง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 1.2 ล้านบาท

6. น้ำมันดีเซล เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรตรวจสอบรถบรรทุกน้ำมัน จำนวน 3 คัน บริเวณ ริมถนน ใน จ.นครศรีธรรมราช พบน้ำมันดีเซลรวมปริมาณ 16,800 ลิตร ซึ่งน้ำมันดังกล่าวเป็นน้ำมันที่มีเมือง กำเนิดต่างประเทศและไม่มีหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากร รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 370,000 บาท

7. เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 กรมศุลกากรได้ตรวจค้นอาคารพาณิชย์ 4 แห่ง ในเขตบางบอน กรุงเทพฯ พบสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและอื่น ๆ เมืองกำเนิดต่างประเทศ และไม่มีหลักฐาน การผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดงขณะตรวจค้น รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 3.2 ล้านบาท / ทั้งนี้…

(2) องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ปรับปรุงและเผยแพร่การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก สำหรับสินค้าทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด -19 องค์การศุลกากร โลก (World Customs Organization: WCO) ได้จัดทำและเผยแพร่รายการอ้างอิงในการจำแนกประเภทพิกัด ศุลกากรสำหรับสินค้าทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 (HS Classification Reference for Covid 19 Medical Supplies) ทางเว็บไซต์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งรายการอ้างอิงฯ ดังกล่าว เป็นการจัดทำพิกัดศุลกากร ในระดับ 6 หลัก และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา องค์การศุลกากรโลกร่วมกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้จัดทำรายการอ้างอิงในการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรสำหรับสินค้าทาง การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ฉบับที่ 3 (HS Classification Reference for Covid 19 Medical Supplies 3 rd Edition) ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงล่าสุด ทั้งนี้ กรมศุลกากร ได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวทางเว็ปไซต์ www.customs.go.th เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้นำเข้า ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการ ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดจำแนก ประเภทสินค้า หรือเป็นข้อมูลในการแสดงพิกัด สำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว อนึ่ง การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางการจำแนกสินค้า โดยไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

(3) กรมศุลกากรขอแจ้งเตือนโปรดอย่าหลงเชื่อกรณีหลอกลวง กรมศุลกากรขอแจ้งเตือนประชาชน เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมศุลกากร ท าการลอกลวงผู้เสียหายในหลายกรณี อาทิ 1. กรณีที่ชาวต่างชาติหรือบุคคลที่ทำความรู้จักกับผู้เสียหายผ่านทางสื่อออนไลน์ แจ้งว่า ได้ส่งของขวัญหรือของมีค่าต่าง ๆ โดยขอให้ผู้เสียหายโอนเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าภาษีอากรสำหรับสิ่งของ ดังกล่าว หรือมีมิจฉาชีพแจ้งแก่ผู้เสียหายว่า มีพัสดุไปรษณีย์มาจากต่างประเทศแต่ติดปัญหาด้านภาษีกับ กรมศุลกากร และให้ผู้เสียหายชำระเงินไม่เช่นนั้นจะถูกเจ้าหน้าที่ยึดพัสดุดังกล่าว กรมศุลกากรจึงขอเตือนให้ท่าน ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่ใจก่อนการโอนเงิน 2. กรณีการลงเว็บไซต์ขายสินค้า อ้างว่าเป็นสินค้าจากกรมศุลกากร และให้โอนเงินมัดจำหรือนัด ให้ไปชำระเงินส่วนที่เหลือเพื่อรับสินค้า กรมศุลกากรขอยืนยันว่า การจำหน่ายสินค้าของกลางกรมศุลกากร โดยวิธี ที่ถูกต้อง จะเป็นการลงประกาศขายทอดตลาดอย่างเป็นทางการ และจะรับชำระเงิน ณ ที่ทำการศุลกากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเท่านั้น ไม่มีการเสนอขายทางระบบอินเตอร์เน็ต หรือผ่านบุคคลที่แอบอ้าง และไม่มีการให้ โอนเงินค่าสินค้า หรือโอนเงินมัดจำเข้าบัญชีผู้ใดทั้งสิ้น 3. กรณีที่มีผู้ที่อ้างเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณค่าโฆษณา เพื่อจัดทำหนังสือ รายงาน วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของกรมศุลกากร พร้อมทั้งมีข้อความที่ทำให้ ผู้ประกอบการเข้าใจผิดว่า กรมศุลกากรมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการเหล่านั้น กรมศุลกากรขอยืนยันว่าไม่มี นโยบายขอรับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการในลักษณะดังกล่าว แต่อย่างใด

ทั้งนี้ หากท่านเกิดข้อสงสัยท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมศุลกากร 1164 หรือ ศูนย์บริการศุลกากร (Customs Care Center) โทรศัพท์ 02-667-6000,02-667-7000 ต่อ 205844-8 หรือ website: ccc.customs.go.th หรือติดต่อด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์สอบถามไปยัง ส านักงานหรือด่านศุลกากร ทุกแห่ง ในวันและเวลาราชการ

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*