กฎหมายน่ารู้

#นิติเวช กับ คดีน้องชมพู่

%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%8a-%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-%e0%b8%84%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9

คดีน้องชมพู่ มีประเด็นทีตัองพิจารณาว่า เหตุใดแพทย์นิติเวช คนแรก (ระบุผลตรวจว่า “ พบรอยผิวหนังถลอกเก่าหลายรอยตามลำตัวแขนขา ไม่พบรอยแผลเปิดขนาดใหญ่ ตรวจอวัยวะเพศ ไม่พบรอยฉีกขาดภานนอก “ ) แต่แพทย์นิติเวช รพ .ตำรวจ (ตรวจซ้ำครั้งที่สอง ) กลับระบุผลตรวจ “ พบบาดแผลตามร่างกายและอวัยวะเพศ” (จนทำให้เกิดประเด็น เรื่องทำร้ายร่างกาย และการล่วงละเมิดทางเพศ) เพราะเหตุใดผลตรวจในครั้งหลังจึงปรากฎผลเป็นเช่นนั้น หรือ เป็นเพราะการแปลผลชันสูตร ที่แตกต่าง ทำให้เกิดประเด็นดังกล่าว
จึงเกิดคำถามว่า มีเหตุผลและความจำเป็นใดที่จะต้องทำการตรวจพิสูจน์ศพซ้ำอีก ? (ทั้งที่ไม่ปรากฎความบกพร่องในการตรวจครั้งแรก)

คดีน้องชมพู่ ทำให้เราเห็นบทเรียน การสืบคดี(จาก)โดยสื่อ มีการจำลองเหตุการณ์ มีการทดลองเดิน ทดลองขับรถ ทดลองขับรถไถ ตามทีพยานแต่ละปากให้การกับสื่อ มีการพูดถึงไทม์ไลน์ของแต่ละคนเพื่อหาขัอพิรุธของพยานแต่ละปาก เพื่อหาตัวผู้กระทำให้น้องชมพู่ถึงแกความตาย โดยลืมประเด็น การชันสูตรพลิกศพ

“พยานทีดีทีสุด คือ พยานที่ใกล้ชิดกับเหตุมากที่สุด”

การชันสูตรพลิกศพ ครั้งแรก นับว่าใกล้ชิดกับเหตุความตายมากที่สุด

การชันสูตรพลิกศพ ทำให้เรารู้ว่า
1 ผู้ตายเป็น
2.ตายที่ไหน
3.ตายอย่างไร หรือสาเหตุการตาย (ถูกทำให้ตาย หรือ ตายเองโดยพยาธิสภาพของโรค)

แม้แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพจะไม่สามารถระบุ สาเหตุการตายได้ แต่บาดแผลตามร่างกายของน้องชมพู่ที่ปรากฎก็ยังฟังไม่ได้ว่า เป็นสาเหตุให้ถึงแก่ความตาย

และแม้จะมีการตรวจชันสูตรพลิกศพซ้ำในครั้งทีสอง แต่การตรวจพิสูจน์ศพครั้งที่สองซึ่งมีระยะเวลาห่างจากครั้งแรก เป็นเวลานาน และไม่ใกล้ชิดกับเหตุ การตรวจในครั้งหลังศพย่อมแปรสภาพ(เน่า) ของศพเป็นธรรมดา จึงอาจเกิดรู (ตามที่เกิดเป็นประเด็นใหม่ ทั้งที่การตรวจครั้งแรก ไม่พบ)

คดีน้องชมพู่ จึงมีความจำเป็นต้องพิสูจน์หา สาเหตุการตายก่อน ( ตายโดยถูกทำให้ตายหรือ ตายเอง) โดยจะต้องพิสูจน์จากศพ (นิติเวช )
“ ตายเอง “หรือ “ ถูกทำให้ตาย” จึงเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี
คดีนี้ หลายคน ตกเป็น
ผู้ต้องสงสัยจากคำให้การ หรือการให้สัมภาษณ์ (ผ่านสื่อ)
ในทางคดี หากจะรับฟังพยานบุคคล ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจมีคำให้การที่เป็นเท็จก็ได้
และหากจะรับฟังพยานบุคคลต้องฟังประกอบพยานหลักฐานอื่น
แต่ในคดีที่มีผู้ถึงแก่ความตาย การตรวจพิสูจน์ศพ จึงเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี หากตายเอง (เช่น ขาดน้ำ ขาดอาหาร )หรือ มีผู้ทำให้ตาย (การกระทำในทางกฎหมาย หมายรวมถึง การละเว้นไม่กระทำ การปล่อยปละละเลยด้วย)

คดีน้องชมพู่ มีพยานที่อยู่กับน้องชมพู่คนสุดท้ายคือ ……พยานปากนี้ เป็นปากสำคัญ การทีพยานหลับ กับ การทีพยานไม่ได้หลับ ย่อมมีความสำคัญแห่งคดี หากพยานไม่หลับ และพยานปากนี้ให้การตามความจริงที่พยานเห็น เราอาจเห็นทางออกแห่งคดีว่า

1 น้องชมพู่ ไปกับใคร
2.น้องชมพู่ ไปอยู่บนเขาได้อย่างไร
ส่วน “นิติเวช “ จะบอก สาเหตุการตาย ( ตายเอง หรือ ถูกทำให้ตาย )

“นิติเวช “ จะต้องเป็น “พระเอก”ในคดีที่มีผู้ถึงแก่ความตาย ส่วนพยานบุคคล จะเป็น “พระรอง “ ทีจะมาช่วย “ พระเอก” ให้มีบทเด่น

หนังเรื่อง “นิติเวช กับ น้องชมพู่ “ใกล้จะออกฉายแล้ว


นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการจังหวัดอำนาจเจริญ
รองประธานคณะอนุกรรมาธิการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม(คนทีสี่) ในคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*