สังคมท้องถิ่น

กรมศุลกากรแถลงข่าวประจำเดือนตุลาคม 2563

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%88

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าว ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากรนายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวว่า นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากรมีนโยบายให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบายโครงการและประเด็นต่าง ๆ โดยคณะโฆษกกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมดำเนินการแถลงข่าวเป็นประจำทุกเดือนและสำหรับประเด็นที่หน้าสนใจในการแถลงข่าวประจำเดือนตุลาคม 2563 ได้แก่ ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนกันยายน 2563 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ผลการตรวจพบการกระทำความผิดประจำเดือนกันยายน 2563ตามที่ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายให้การเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร น้ำมัน ยาเสพติด IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา CITESโดยสืบสวนหาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดัง แหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงในการลักลอบนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ มีการบูรณาการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทหาร กอ.รมน. ป.ป.ส.บช.ปส.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูตต่างๆ องค์การตำรวจสากล(Interpol) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (Drug Enforcement Administration:DEA) เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกันสำหรับเดือนกันยายน2563กรมศุลกากรตรวจพบการกระทำผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรจำนวน1,460 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม243ล้านบาททั้งนี้ กรมศุลกากรตรวจพบการกระทำความผิดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 –กันยายน2563)ทั้งสิ้น 24,508คดี คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,258 ล้านบาทผลงานที่หน้าสนใจในช่วงเดือนกันยายน 2563 มีดังนี้ 1.1 การจับกุมยาเสพติดให้โทษประเภทเอ็กซ์ตาซี่ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 กรมศุลกากรได้ตรวจพบพัสดุต้องสงสัยต้นทางจากต่างประเทศจำนวน 1หีบห่อ จึงประสานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ ศรภ.กองบัญชาการกองทัพไทยและพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกันเปิดตรวจพัสดุดังกล่าว ผลการตรวจสอบพบเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เอ็กซ์ตาซี่) เม็ดสีฟ้า จำนวนประมาณ 50,070 เม็ด น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 16.17 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ40 ล้านบาททั้งนี้สถิติการตรวจยึดยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 –กันยายน2563 มีจำนวนคดี 223 คดี มูลค่ากว่า 1,340 ล้านบาท

/ ต่อมา…-2-1.2การจับกุมน้ำมันดีเซล เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจสอบรถบรรทุกน้ำมัน จำนวน 2 คันโดยคันที่ 1 ริมถนนพระราม 2 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พบน้ำมันดีเซล 16,000 ลิตรคันที่ 2 ริมถนนหมายเลข 2020 ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครพบน้ำมันดีเซล 16,000 ลิตร มีเมืองกำเนิดต่างประเทศที่ไม่มีหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดงขณะตรวจค้น รวมประมาณ 32,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 8 แสนบาท ทั้งนี้สถิติการจับกุมน้ำมันเชื้อเพลิงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 –กันยายน 2563 ได้แก่ น้ำมันดีเซล จำนวน 315คดี ปริมาณ 5.66 แสนลิตร มูลค่ากว่า 12.2 ล้านบาท น้ำมันเบนซิน จำนวน 367 คดี ปริมาณ 1.57 แสนลิตร มูลค่ากว่า 3.8 ล้านบาท 1.3 การจับกุมสินค้าเกษตร เมื่อวันที่ 1 กันยายน2563 กรมศุลกากรได้ตรวจค้นห้องเย็นแห่งหนึ่ง ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พบสินค้าเกษตรประเภทมันฝรั่ง มีเมืองกำเนิดต่างประเทศ โดยไม่มีเอกสารหลักฐานการผ่านพิธีการทางศุลกากรมาแสดงขณะตรวจค้น ปริมาณกว่า 15 ตัน มูลค่ากว่า 4 แสนบาท เมื่อวันที่ 21กันยายน 2563 กรมศุลกากรได้ทำการตรวจค้นบริเวณป่าสวนยาง ตำบลควนลังอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาผลการตรวจค้นพบ กระเทียมบรรจุกระสอบจำนวน 1,000 กระสอบโดยไม่พบเอกสารหลักฐานการผ่านพิธีการทางศุลกากรมูลค่ากว่า320,000 บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 กรมศุลกากรได้ออกลาดตระเวนเพื่อป้องกันการกระทำความผิดทางกฎหมายศุลกากร บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 หาดใหญ่-ปัตตานี พบรถบรรทุกสิบล้อจำนวน 2 คัน มีคลุมผ้าใบมิดชิด ขับมุ่งหน้าเข้า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้แสดงตัวขอตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบมะพร้าว จำนวนรวมประมาณ 27 ตัน โดยไม่มีเอกสารหลักฐานการนำเข้าหรือเอกสารประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มูลค่ากว่า 430,000 บาท ทั้งนี้ สถิติการตรวจยึดสินค้าเกษตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 –กันยายน 2563 มีจำนวนคดี ทั้งสิ้น 627 คดี มูลค่ากว่า 44.8 ล้านบาท 1.4 การจับกุมบุหรี่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ได้ทำการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าทางเรือ พบบุหรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยได้รับแจ้งจากตัวแทนฯ เครื่องหมายการค้า ว่ามีการละเมิดเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวจำนวน 1,040 หีบห่อ (CT) ปริมาณ 520,000 ซอง ถือเป็นการน าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงข้อห้าม อันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงข้อห้าม ตามมาตรา 202 และมาตรา 244 ประกอบ มาตรา 252 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2560 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และ พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522คิดเป็นมูลค่าประมาณ 46 ล้านบาท

-3-ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ได้ทำการตรวจสอบพบบุหรี่ละเมิดเครื่องหมายการค้า จำนวน 1,000 หีบห่อ (50 COTTON/หีบห่อ) (10 ซอง/COTTON) ปริมาณรวม 500,000 ซอง(20มวน/ซอง) ถือเป็นการน าของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงข้อห้าม อันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จหลีกเลี่ยงข้อห้าม ตามมาตรา 202 และมาตรา 244 ประกอบ มาตรา252 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2560พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และ พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 43.9 ล้านบาททั้งนี้สถิติการจับกุมบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 –กันยายน2563 มีจำนวนคดี ได้แก่ 1. บุหรี่ จำนวน 849 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 248.5 ล้านบาท 2.บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์ จำนวน 656 คดี คิดเป็นมูลค่ารวม 15.1 ล้านบาท 1.5.ผลการจับกุมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 กรมศุลกากรตรวจพบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่แสดง (สำแดง) เป็นสิ่งปรุงแต่งที่มีกลิ่นหอม ผ่านทางสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อส่งสินค้าตัวอย่างให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบ พบว่า เป็นสินค้าที่เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 สินค้าเข้าข่ายเป็นยา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และสินค้าที่เข้าข่ายเป็นอาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการน าของต้องกำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 แสนบาท

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*