วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จัดโครงการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง กับ สมาคมนักออกแบบตกแต่งติ้วประเทศไทย (PMAT)
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 18 พ.ย.63 ที่ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 5 อาคารนนทรี วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ ดร.ณรงค์ ศรีเกรียงทอง รองประธานอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพสุขภาพและความงาม ประธานสมาพันธ์เครือข่ายช่างผม เสริมสวย และความงามนานาชาติ (IHNF) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดโครงการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง กับสมาคมนักออกแบบตกแต่งติ้วประเทศไทย (PMAT) ทั้งนี้ เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชน รองรับสถานการณ์ปัญหาว่างงาน ยกระดับรายได้ของประชาชน และผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยมีนางสาวคณัสณันท์พรรณ ผลทำมีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ในนาม อนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพสุขภาพและความงาม กล่าวแสดงความยินดี และแสดงวิสัยทัศน์
โดยมี คณะผู้บริหารฯ ตัวแทนกลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยเทคนิคฯ เข้าร่วมพิธีลงนาม ประกอบไปด้วยวิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์, วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคราม, วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี, วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ, วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์, วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี, วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา, วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา, วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี, วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์, วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร, วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต, วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฏร์ธานี, วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี, วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี และวิทยาลัยเทคนิคนครขอนแก่น โดยบรรยากาศภายในงาน นอกจากพิธีลงนามความร่วมมือแล้ว ยังจัดให้มีการอบรม Science And Art of Beauty โดยการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติใน 5 รายวิชา ประกอบไปด้วย 1.สักคิ้วออมเบร์ 2.ต่อขนตาเส้นต่อเส้น 3D ร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพสุขภาพและความงาม 3.แก้คิ้ว ลบคิ้ว 4.แต่งหน้าเสริมโหงวเฮ้ง 5.นวดหน้ากัวชา ให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมโครงการจำนวน 200 คน
สำหรับ พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง กับสมาคมนักออกแบบตกแต่งติ้วประเทศไทย (PMAT) ในครั้งนี้ ตามแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายอาชีวศึกษายกกำลัง 2 สร้างคุณภาพ นำปริมาณ ปลดล็อค หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาอาชีวศึกษา ปรับเปลี่ยน หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย เปิดกว้าง ให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน โดยผู้ที่มีความเชียวชาญในสาขาอาชีพ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญเฉพะทาง (Excellence Center) ยกระดับศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศ (Re-Skill ,Up-Skill ,New-Skill) ยกระดับความร่วมมือและเพิ่มบทบาทในการจัดการศึกษากับภาคเอกชนอย่างเข้มข้นและพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพให้มีความทันสมัยและมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ