ศาสนาและการศึกษา

ผอ. “เฉลิมไฉไล” รับพิษโควิดทำ ร.ร.ทรุด ยันไม่ปิดเรียนพร้อมสอนเด็กพิเศษต่อ

%e0%b8%9c%e0%b8%ad-%e0%b9%80%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%89%e0%b9%84%e0%b8%a5-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9%e0%b9%82%e0%b8%84

จากกรณีมีข่าวสารเกี่ยวกับโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 ในทุกระดับชั้น หลังเปิดเรียนการสอนมานานกว่า 65 ปี เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำโรงเรียนขาดทุน จนต้องประกาศปิดการเรียนการสอนนั้น

ล่าสุดวันที่ 19 เมษายน 2565 นางวาทินี สุธนรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา เปิดเผยว่า จากการที่มีข่าวการปิดตัวโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยามาก่อนหน้านั้น ซึ่งทาง ร.ร.ก็ขอน้อมรับ เนื่องจากโรงเรียนแบกรับภาระต่าง ๆ จากปัญหาโควิดระบาดมานานติดต่อกัน 3 ปีไม่ไหว จนเกิดภาวะการเครียดจึงได้แจ้งหนังสือไปยังผู้ปกครองถึงเหตุผลร่วมถึงการประกอบอาชีพของผู้ปกครองของนักเรียนหลายคนต้องหยุดชะงัก บางรายต้องตกงานไม่มีรายได้หรือรายได้ลดลง ไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาต่าง ๆ ให้กับโรงเรียนได้ตามปกติ ขณะเดียวกันการดำเนินกิจการของโรงเรียนก็มีรายจ่ายไม่เพียงพอกับรายได้จึงแจ้งไปยังผู้ปกครองถึงการปิดการเรียนการดังกล่าว

“ ปัจจุบันโรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 300 คน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยม 3 ทางโรงเรียนดูแลในส่วนที่ ร.ร.รับผิดชอบ ต้องยอมรับทางโรงเรียนอาจจะผิดตอนที่แจ้งผู้ปกครองออกไปอย่างนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจึงรอเวลา ตามปกติแล้วทาง ร.ร.จะเปิดรับนักเรียน ช่วงเทอม 2 แต่ช่วงสถานการณ์โควิดล้างลามาจนปีที่ 3 แล้ว การรับสมัครไม่ต่อเนื่องช้ามาก บวกกับจำนวนนักเรียนที่มาสมัครเมื่อปี 63 มีแค่ 30 กว่าคน ปี 64 ก็ยังคงมีนักเรียนมาสมัครในหลักสิบคนเท่าเดิม พอมีมาปี 65 ช่วงต้องเปิดรับนักเรียน พบมีผู้ปกครองได้โทรมาถามว่าทางโรงเรียนมีการเปิดรับสมัครนักเรียนไหม แต่พอถึงเวลาก็ยังไม่มีผู้ปกครองพานักเรียนเข้ามาสมัครแต่อย่างใด จนปัจจุบันยังไม่มีนักเรียนมาสมัครเรียน ขณะเดี่ยวกันนักเรียนที่จบชั้นป.6 และเด็ก ม.3 จบออกไป ผู้ปกครองก็พาบุตรหลานไปสมัครโรงเรือนอื่น แต่จำนวนครูยังคงเท่าเดิมแต่จำนวนนักเรียนหายไปจำนวนหลักร้อย ทางโรงเรียนไม่คิดโทษใคร ซึ่งทุกคนต้องเจอสภาวะโควิดแบบนี้เกือบทุกโรงเรียน ถ้าจะพูดถึงก็อาจจะเชื่อมโยงไปถึงนโยบายการบริหารจัดการสถานการศึกษาแค่สองซอยมีโรงเรียนตั้งอยู่ถึง 4 โรงเรียน บวกกับบางส่วนน่าจะเกิดจากการที่ไม่มีการคุมกำเนิดโรงเรียน ขณะเดี่ยวกันปัจจุบันคนเกิดน้อยลง จึงอาจเป็นผลกระทบจากในอดีตพ่วงมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางโรงเรียนก็ใช้ความพยายามอดทนมาโดยตลอด ขณะเดียวกันผู้ปกครองที่มีฐานะก็จะพาบุตรหลานไปเรียนที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงระดับอินเตอร์ แม้จะเป็นหลักสูตรการศึกษาเดียวกัน

นางวาทินี สุธนรักษ์ เผยต่อว่า ที่ผ่านมาทางโรงเรียนเปิดรับนักเรียนทั้งเด็กปกติ และเด็กพิเศษ อาจทำให้ผู้ปกครองมองมีเด็กปกติบางคนมองว่าทำไม่บุตรหลานตนเองจะต้องมาเรียนกับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งทางโรงเรียนมีระบบจัดงานการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตัวเด็กทั้งสองประเภท โดยเปิดรับครูเฉพาะมาสอนให้กับเด็กพิเศษ โดยเอาใจใส่จนเด็กปกติมีความเข้าใจยอมรับความเป็นเพื่อนกับเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษ แต่มีผู้ปกครองบางรายไม่ยอมรับ ขณะเดียวกันเด็กที่เรียนอยู่ ทางผู้ปกครองมีทางเลือกโรงเรียนอื่นมากขึ้นจึงเป็นทางเลือกที่จะพาบุตรหลานไปสมัครโรงเรียนอื่น

“ตนเป็นผอ.รุ่นที่ 3 ซึ่งทางโรงเรียนขอแจ้งว่าทางโรงเรียนยังไม่มีการปิดโรงเรียน เพียงแต่เปิดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษที่ยังหลงเหลืออยู่จำนวนเกือบ 40 คน ซึ่งเด็กพิเศษกลุ่มนี้ทางโรงเรียนจะแยกการเรียนการสอนพร้อมพัฒนาเขาตามศักยภาพที่เขาเป็น ยังไงทางโรงเรียนยืนยันยังคงเปิดการเรียนนการสอนตามปกติ โดยเฉพาะเด็กพิเศษกลุ่มนี้ที่ทางโรงเรียนยังคงต้องเปิดการเรียนการสอนต่อไป และล่าสุดได้มีนักเรียนพิเศษที่จบจากที่แห่งนี้มาเยี่ยมและทางผู้ปกครองแจ้งว่าบุตรของเข้าสามารถสอบเข้าวิทยาลัยศิลปกร ซึ่งก็เป็นการภาคภูมิใจให้กับคณะครูและผู้ปกครองเช่นกัน ” นางวาทินี กล่าวทิ้งท้าย

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*