สังคมท้องถิ่น

อพท. ขับเคลื่อนเมืองท่องเที่ยว “คุ้งบางกระเจ้า” ที่พอดี มีสุข พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว

%e0%b8%ad%e0%b8%9e%e0%b8%97-%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87

อพท. ขับเคลื่อนเมืองท่องเที่ยว “คุ้งบางกระเจ้า” ที่พอดี มีสุข พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสู่ระดับมาตรฐานสากล

วันนี้ (1 มิ.ย.65) เวลา 13.30 น. ดร.วาสนา  พงศาปาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว เป็นประธานเปิดโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว (การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสู่ระดับมาตรฐานสากล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 1 – 2 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสุธัมมศาลา วัดจากแดง ตำบลทรงคนอง คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ  โดยมี นายสุธารักษ์  สุนทรวิภาค  ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 1  กล่าวต้อนรับ นักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ร่วมกันเสวนาในหัวข้อ “พอดี มีสุข สู่เมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”

 กิจกรรมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ และระดมความคิดเห็นในการกำหนดปัจจัยชี้วัดและเกณฑ์ในการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ภายใต้

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดย สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว จึงได้กำหนดแนวทางที่จะทำการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) ในบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่พิเศษของ อพท. พื้นที่ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว รวมถึงพื้นที่เตรียมความพร้อมยกระดับเพื่อประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เนื่องจากในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เกิดการขยายตัว รวมทั้งยังช่วยให้เกิดการสร้างและการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เมื่อแหล่งท่องเที่ยวมีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าไปมากจนเกินศักยภาพที่จะรองรับได้ หรืออยู่ในภาวะนักท่องเที่ยวล้นพื้นที่ (Over Tourism) ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบตามมาอีกหลายประการ อาทิ ความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศ ปัญหาขยะ ชุมชนรู้สึกสูญเสียความสุขและวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนไป ซึ่งหากภาวะดังกล่าวได้เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่แล้ว จะทำให้ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการฟื้นฟู และแก้ไขปัญหา ตลอดจนทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องสูญเสียรายได้และผลประโยชน์ที่พึงได้จากแหล่งท่องเที่ยวไปในที่สุด การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเพื่อให้เกิดการรับรู้ในศักยภาพและขีดจำกัดเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว โดยผลการประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวหนาแน่น (Over tourism) ตลอดจนการวางแผนในการบริหารจัดการด้านสาธารณูปโภค ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม-วัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่สูงที่สุด โดยสร้างผลกระทบเชิงลบให้น้อยที่สุด จนนำไปสู่ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) และ ดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันการเดินทางและการท่องเที่ยว หรือTravel & Tourism Competitiveness Index (TTCI) สามารถคงคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวได้มีมาตรฐานสม่ำเสมอ รวมทั้งชุมชนที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวกระแสหลัก มีการบริหารจัดการด้านขีดความสามารถจะช่วยลดผลกระทบทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน ที่มุ่งเน้นในเรื่องความยั่งยืนและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงประเด็นในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม คุณภาพ สุขอนามัย และความปลอดภัย เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามขีดวามสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ และช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ไม่ถูกทำลาย เกิดเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่มีส่วนช่วยผลักดันให้อันดับขีดความสามารถด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ (Travel & Tourism Competitiveness Index: TTCI) อยู่ในอันดับที่ดีขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ (n) ของ อพท. ตามแนวทางพื้นฐานของเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) และตามเป้าหมายการนำแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบเข้าสู่การจัดอันดับสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกหรือ Global Sustainable Tourism Destination Top 100

2) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ มีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของพื้นที่

3) เพื่อให้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีภาพลักษณ์เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศมากขึ้นอันเป็นการช่วยยกระดับการท่องเที่ยวไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้เพิ่มขึ้น

ขอบเขตพื้นที่โครงการ

1) เกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

2) พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท.

(พื้นที่คุ้งบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ)

กรอบการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity)บนฐาน GSTC หรือ Global Sustainable Tourism Council Criteria และดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันการเดินทางและการท่องเที่ยว หรือTravel & Tourism Competitiveness Index (TTCI) ประกอบไปด้วย 7 ด้าน ได้แก่  

1.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน (Community tourism Management Carrying Capacity)

2.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Ecology and Environment Carrying Capacity) 

3.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านกายภาพ (Physical Carrying Capacity, PCC)       

4.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Carrying Capacity, FCC) จำแนกเป็นสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกภาครัฐ และธุรกิจภาคบริการของเอกชน -ชุมชน

5.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านสังคม วัฒนธรรมชุมชน (Social and cultural Carrying Capacity, SCC)

6.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ด้านจิตวิทยา(นักท่องเที่ยว)(Psychological Carrying Capacity) 

7.ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจ (Economic Carrying Capacity)

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*