สังคมท้องถิ่น

เรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน ยิงสด 7 สนาม 

%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%97%e0%b8%b2

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา พลเอกวิสันติ สระศรีดา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นประธานแถลงข่าวการถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราช ทานประจำปี 2566 ณ ห้องเบญจพัชร (ชั้น 2) อาคารเบญจรังสฤษฎ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

พลเอกวิสันติ สระศรีดา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กล่าวว่า “เมื่อสมัยก่อนนั้นประเทศไทย ประชาชนอาศัยเรือและแม่น้ำลำคลองในการดำรงชีพ เนื่องประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ผู้คนประกอบอาชีพการกสิกรรม เพาะปลูกเป็นหลักใหญ่ และสภาพทางภูมิศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยแม่น้ำ ลำคลอง จึงได้ใช้เรือเป็นส่วนหนึ่งของการคมนาคม ซึ่งการประกอบอาชีพทางเกษตร กรรม การทำนาทำไร่จะมีช่วงเวลาว่างตามฤดูกาล โดยเฉพาะหน้าฝนประชาชนในแต่ละท้องถิ่นก็จะรวมตัวกันร้องรำทำเพลง สนุกสนานกันและยังมีการจัดแข่งขันเรือซึ่งต่อมาก็พัฒนา เป็นการแข่งขันเรือยาวขึ้น”

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงทรงมีพระราชดำริเพื่อให้ประชาชนมีความรักใคร่สามัคคี และให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยทรงเล็งเห็นว่าการที่มีการจัดแข่งขันเรือยาวระหว่างชุมชนหมู่บ้านเป็นสิ่งดีที่น่าส่งเสริมอีกทั้งเป็นการช่วยสืบสานเรือไทยและกีฬาเรือยาวซึ่งถือเป็นภูมิปัญญากีฬาชาวบ้านให้คงอยู่สืบไป จึงทรงพระราชทานถ้วยรางวัลให้ สำหรับท้องถิ่นใดจะจัดการแข่งขันเรือยาวก็ตาม ซึ่งเป็นที่ปลื้มปิติแก่ประชาชนชาวไทยตลอดมา โดยเรียกเป็นการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน ประจำปี จนปัจจุบันนี้การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ได้จัดกันแพร่หลายทั่วประเทศ ทั้งนี้จะจัดกันในช่วงฤดูฝนและจะตรงกับช่วงเทศกาลเข้าพรรษา”

พลเอกวิสันติ กล่าวต่อไปอีกว่า “ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปีได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลให้กับชุมชนและท้องถิ่นต่างๆที่จัดการแข่งขันเช่นเดิม ทาง ททบ.5 เองเห็นว่าการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานในแต่ละปี ประชาชนคนไทยได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดแข่งขัน อย่างแพร่หลายและเลงเห็นว่านอกจากเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายและสร้างความรักใคร่สามัคคีในแต่ละท้องถิ่นให้กลมเกลียวมากยิ่งขึ้นนอกจากนั้นยังเป็นการรณรงค์ให้กีฬาเรือยาวคงอยู่สืบไปและที่สำคัญยิ่งเพื่อเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย จึงจัดให้มีการถ่าย ทอดสดการแข่งขันเรือยาวประเพณี ประจำปี 2566 รวม 7 สนาม โดยในระหว่างถ่ายทอดสดจะได้นำเสนอพระราชกรณียกิจต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบันรวมทั้งโครงการพระราชดำริให้ผู้ชมได้ชื่นชมพระบารมีพร้อมกันไปด้วย สำหรับสนาม ที่ ททบ.5 จะถ่ายทอดสด ทางฝ่ายจัดการแข่งขันจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป”

นายองอาจ ใจทัศน์กุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เบสท์ วิชั่น จำกัด ในฐานะผู้รับผิดชอบการถ่ายทอดสดกล่าวว่า สำหรับการแข่งขันเรือยาวโดยทั่วไปจะมี 3 ประเภท คือ 30-40-55 ฝีพาย และอาจจะมีเรือประจำท้องถิ่น โดยการถ่ายทอดมีทั้งหมด 7 สนามด้วยกันคือ วันอาทิตย์ที่ 30 ก.ค. 2566 ที่หน้าวัดมะขาม แม่น้ำเจ้าพระยา ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ,สนามที่ 2 วันอังคารที่ 1 ส.ค. 2566 ที่คลอง 1 สะพานแดง รังสิต ปทุมธานี ,สนามที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 6 ส.ค. 2566 ที่วัดดาน อ.เมือง พิจิตร สนามที่ 4 วันอาทิตย์ที่ 13 ส.ค. 2566 ที่แม่น้ำป่าสัก หน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ สระบุรี ,สนามที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ย. 2566 ที่แม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวง อ.เมือง พิจิตร, สนามที่ 6 วันอาทิตย์ที่ 15 ต.ค. 2566 ที่แม่น้ำน้อย หน้าวัดกลางท่าข้าม อ.ค่ายบางระจัน สิงห์บุรี ,สนามที่ 7 วันอังคารที่ 5 ธ.ค. 2566 ที่แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าสวนเทพปทุม อ.เมือง ปทุมธานี …ทั้งนี้ทุกสนามจะเริ่มเวลา 14.30 – 16.30 น. (ยกเว้นวัดท่าหลวง) เริ่ม 15.00 – 17.00 น.

ส่วนเรื่องที่เข้าแข่งขันแต่ละสนาม คณะกรรมการจัดแข่งขันได้เชิญเรือที่มีประวัติดีเด่นมายาวนาน อาทิ เทพนรสิงห์ 88 , ปัญญา ป.นำโชค, เจ้าแม่ประดู่ทอง, เจ้าแม่ประดู่เงิน, นาวาสักสิต จ.

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*