ข่าวประชาสัมพันธ์

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รู้ไว รักษาทัน

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%87-stroke-%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%a7

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke  เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตัน ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงสมองได้ ส่งผลให้สมองและระบบประสาทเกิดความเสียหาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือเสียชีวิตได้

โรคหลอดเลือดสมองมี 2 รูปแบบ

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบ/แคบลง หรือเกิดจากลิ่มเลือดจากที่อื่นมาอุดตัน เช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน

2. หลอดเลือดสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางจากภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งพองและแตกออก หรือหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแตกง่าย และเกิดเลือดออกในสมองส่งผลให้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สังเกตอาการด้วย FAST

  • Face ใบหน้าและปากเบี้ยวเฉียบพลัน
  • Arms แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก
  • Speech ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก
  • Time รีบนำส่งโรงพยาบาล ต้องรักษาภายใน 4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกเป็น ปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

  • อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • เพศ เพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคมากกว่าเพศหญิง
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
  • การสูบุหรี่ มีสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว
  • การดื่มสุรา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • การใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน หรือโคเคน สารเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เลือกรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารรสเค็ม หวาน มัน และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง
  • หากปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  •  หยุดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโรคหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง จะทำให้สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

โดย นพ.บัณฑิตย์ นเรศเสนีย์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมระบบประสาทและสมอง แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10115-10116

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*