งานเปิดห้องปฏิบัติการทคสอบด้านประสิทธิภาพ การติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง และด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูพย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (นิคมอุตสาหกรรมบางปู)เมือง สมุทรปราการ สถาบันฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดกิจกรรม งานเปิดห้องปฏิบัติการทดสอบด้านประสิทธิภาพ ด้านการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง และด้านความเข้ากันได้ทาง แม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า” โดยนายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบัน เป็นประธานเปิดงานและ กล่าวต้อนรับแขกผู้ร่วมงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการและมาตรฐาน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (นิคมอุตสาหกรรมบางปู) จังหวัดสมุทรปราการวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อแสดงความพร้อมและขีดความสามารถของสถาบันไฟฟ้าฯ
สำหรับ การตรวจสอบรับรองรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในด้านการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์สัญญาณ ด้านประสิทธิภาพ พลังงาน และด้านความกันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ตามข้อกำหนดการทดสอบของกรมการขนส่งทางบก การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นการอำนวยความสะดวกในการทดสอบ ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการ ลดต้นทุน และลดค่าใช้จ่ายใน การส่งสินค้าไปทดสอบยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นการรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนนโยบายของ ภาครัฐ รวมถึงผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
นายณรัฐ จิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบัน กล่าวว่า “การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่ งในอุตสาหกรรมสำคัญที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและขับเคลื่อนทั้งในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการทดสอบ ภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าและการส่งเสริมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนตไฟฟ้าต่อไปในอนาคต EV30@2030 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก การเปิดห้องปฏิบัติการ ทดสอบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าด้านประสิทธิภาพ การติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง และด้านความเข้ากันได้ทาง หล็กไฟฟ้าในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับศักยภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบในการให้บริการรับรองรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรตามประกาศข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางยก ข้อกำหนดของโครงการ ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย รวมถึงการประกาศมาตรฐานของ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเปิดให้บริการทดสอบของห้องปฏิบัติการทดสอบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้านี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ เป็นก้าว กระโดดสำคัญในการสนับสนุนและยกระดับผู้ประกอบการของไทยให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
นายวิธีร์ ศรีมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ เปิดเผยว่า สถาบันไฟฟ้าฯ ในฐานะ หน่วยงานตรวจสอบและรับรองผลิตภัณธ์ของประเทศ เน้นให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบนโยบายของรัฐบาล การยกระดับ ของห้องปฏิบัติการทดสอบสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในครั้งนี้ เป็นการแสดงพร้อมในการให้บริการทดสอบเพื่อ รองรับการประกาศข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่จะเริ่มมีผลใช้ในปี พ.ศ. 2567 เช่น ข้อกำหนดการติดตั้งอุปกรณ์ ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณของรถจักรยานยนต์ UN ECE R53 ข้อกำหนดด้านความเข้ากันได้ทาง แม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับระบบเบรค ABS (Anti-Lock Brake System) ตามมาตรฐาน UN ECE R78 ข้อกำหนดสำหรับ มาตรวัดความเร็วและมาตรวัดระยะทางตามมาตรฐาน UN ECE R39 รวมถึงข้อกำหนดของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใน โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ประกาศข้อกำหนดการ ทดสอบดังกล่าวจะอ้างอิงมาตรฐานสากลและมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้รถจักรยานยนต์ ไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย มีสมรรถนะและประสิทธิภาพดี ตลอดจนช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ และรักษาความสามารถในการแข่งขันได้
สถาบันไฟฟ้าฯ มีความพร้อมด้านการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์สำคัญต่างๆ ใน EV Ecosystem ได้แก่ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวย ความสะดวกสำหรับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน การทดสอบตามข้อกำหนดจะช่วยให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้งานยานยนต์ กิจกรรมบริการดังกล่าวของสถาบันฯ ถือเป็นหนึ่ในกลไกสำคัญด้านการส่งเสริม มาตรฐานใน อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน