ท้องถิ่น

จ.สมุทรปราการ เร่งผลักดันน้ำเค็มออกสู่ทะเล เพื่อลดค่าความเค็มในแหล่งน้ำจากพื้นที่

%e0%b8%88-%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b1

จังหวัดสมุทรปราการ บูรณาการความร่วมมือเร่งผลักดันน้ำเค็มจากเหตุทำนบดินบ่อก่อสร้างของงานจ้างเหมาก่อสร้างสถานีสูบน้ำท่าถั่วพังทลายออกสู่ทะเล เพื่อลดค่าความเค็มของน้ำในลำคลองต่างๆ ให้สามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้

จากเหตุการณ์ทำนบดินบ่อก่อสร้างของงานจ้างเหมาก่อสร้างสถานีสูบน้ำท่าถั่ว ตำบลบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นสัญญาจ้างดำเนินการของสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 11 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง พังทลาย ทำให้น้ำในแม่น้ำบางปะกง ซึ่งมีค่าความเค็มมากกว่า 25 กรัมต่อลิตร ไหลเข้าสู่คลองประเวศน์บุรีรมย์ และไหลผ่านคลองสาขาเข้ามาในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้น้ำมีค่าความเค็มสูงส่งผลกระทบ สัตว์น้ำในลำคลองตายเป็นจำนวนมาก เกษตรกรไม่สามารถนำน้ำมาใช้เลี้ยงปลาและใช้ในการเกษตรได้ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอบางเสาธง บางบ่อและบางพลี

นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้สั่งการให้กำนัน ผู้ใหญ่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและเกษตรกรที่ได้รับกระทบ ในส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำเค็มที่ไหลเข้าตามลำคลอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้นำเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง และรถสูบส่งระยะไกล มีเครื่องสูบขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่องต่อ 1 คัน รวมทั้ง 6 เครื่อง ไปติดตั้งที่ประตูระบายน้ำคลองนางหงษ์ โดยสามารถสูบได้ 5,600 ลบ.ม/ชั่วโมง สูบวันละ 10 ชม. สามารถระบายน้ำได้วันละ 56,000 ลบ.ม ทำให้ค่าความเค็มของน้ำในลำคลองต่างๆ ลดลง แต่ยังเหลือคลองบางพลีน้อย และคลองบ้านระกาศ ที่น้ำยังมีค่าความเค็มสูง

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2567 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้มอบหมายให้นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย นายพชร ศศิชาชยามร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ นายอำเภอบางบ่อ ลงพื้นที่เพื่อหารือร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นพบว่าน้ำในคลองทั้ง 2 สายไม่สามารถไหลได้โดยปกติ จึงจำเป็นต้องทำการเร่งสูบน้ำ โดยให้อำเภอร่วมกับองค์กรครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทำคันดินกั้นคลองเพื่อสูบน้ำออกส่งต่อเป็นช่วงๆ เพื่อระบายลงคลองสำโรงออกสู่ทะเลโดยเร็ว และประสานกับชลประทานเพื่อปล่อยน้ำจืดเข้ามาเจือจางน้ำเค็มในพื้นที่ โดยจะใช้เงินเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*