อาการท้องผูก คือการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก โดยทั่วไปเราถือว่าการถ่ายสัปดาห์หนึ่งน้อยกว่า 3 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ ซึ่งปัญหาเรื่องการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายอย่างมะเร็งลำไส้ได้
ท้องผูกเกิดจากอะไรได้บ้าง
- รับประทานอาหารที่มีกาก เส้นใยน้อย โดยปกติคนเราควรรับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยประมาณ 20-25 กรัม/วัน
- การกลั้นอุจจาระบ่อย เนื่องจากชีวิตที่ต้องเร่งรีบออกไปทำงานก็มักจะกลั้นอุจจาระเอาไว้ เมื่อทำบ่อยเข้าความรู้สึกอยากขับถ่ายก็จะหายไป อาการท้องผูกก็จะเข้ามาแทน และระบบขับถ่ายก็จะผิดปกติไป
- ไม่ออกกำลังกาย หากเราเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือนั่งๆ นอนๆ อยู่กับที่ลำไส้ก็จะนิ่งไม่ขยับ ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้
- รับประทานยาระบายเป็นประจำ ยาระบายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- ชนิดที่ก่อความระคายเคืองกับลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับมูกออกมาหล่อลื่นผนังทวารหนัก ทำให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านไป
- ชนิดที่ก่อให้เกิดการบีบรัดตัวลำไส้ใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนก้อนอุจจาระ ในระยะแรกของการรับประทานยาระบาย อาจได้ผล แต่นานๆ ไปลำไส้โดนกระตุ้นเป็นประจำ ทำให้เกิดการชินและดื้อยาต้องใช้ยาจำนวนมากขึ้นและอาจไม่ได้ผล
5.สาเหตุอื่นๆ
- ชา กาแฟ ทำให้ท้องผูกได้
- ยาเคลือบกระเพาะ สารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
- รับประทานแคลเซียมมากเกินไป
- ยาแก้ไอ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของโคตินอยู่
ท้องผูกเรื้อรังอันตรายกว่าที่คิด
เมื่อเกิดอาการท้องผูกบ่อยๆ ทำให้อุจจาระมีการตกค้างจนแห้งแข็ง จนในเวลาที่อุจจาระต้องใช้แรงเบ่งมากถ่ายลำบากและอุจจาระไปเสียดสีกับผนังลำไส้ รวมไปถึงทวารหนักทำให้ถ่ายเป็นเลือดเกิดบาดแผลรอบๆ ทวารหนักซึ่งเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร นอกจากนี้อาการท้องผูกเรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ลำไส้ใหญ่เกิดแผล และร้ายแรงไปกว่านั้น อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
พญ. วริษฐา วรเพียรกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร
แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10115-10116