วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จัดการฝึกอบรมโครงการอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จัดการฝึกอบรมโครงการอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู สาขาวิชาเทคโนโลยีความงามตามมาตรฐานอาชีพกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ที่ศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จัดการฝึกอบรมโครงการอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู สาขาวิชาเทคโนโลยีความงามตามมาตรฐานอาชีพกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1 โดยมี นายวีระพงษ์ วงษ์ชาดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาฝีมือแรงงาน พร้อมด้วย จ่าสิบตรีธีรพงศ์ หอมชื่น รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ คุณวิบูลย์ สมบูรณ์ศักดิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Chief Executive Office บริษัท เอส.ซี.เสรีชัย บิวตี้ จำกัด ประธานศูนย์บริหารเครือข่ายผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม นางฐิรนันท์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ และคณะครูวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ คณะครูสาขาวิชาเทคโนโลยีความงาม สาขาช่างแต่งผมบุรุษ เข้ารับการอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
โดยภายในงานมีการบรรยาย เรื่อง ภารกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 อำนาจหน้าที่และจรรยาบรรณของผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการประกันคุณภาพการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยนายสิงห์โต แกล้วกล้า นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงาน การบรรยายภาคทฤษฎี เรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วิธีการทดสอบ และการเตรียมการทดสอบะดับ 1 ในสาขาอาชีพที่จะเป็นผู้ทดสอบ โดยนายระพีพัฒน์ ศรีทะ หัวหน้างานปกครองวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ครูสอนตัดผม วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาผู้ทำหน้าที่ทดสอบ ให้มีความรู้ความสามารถและความเชียวชาญในขั้นตอนการจัดเตรียมสถานที่ วัตถุอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานกระบวนการควบคุมการทดสอบและวิธีการตรวจผล เนื่องจากมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีเกณฑ์หรือข้อกำหนดในการประเมินผลตามมาตรฐานที่ต้องพิจารณาหลายขั้นตอน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำควสมเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทดสอบมีจรรยาบรรณในการทำงานด้วยความรวดเร็วโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นกลาง สร้างการยอมรับแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้มาตรฐานฝีมือแรงงาชแห่งชาติเป็นที่ยอมรับ มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล