ข่าวประชาสัมพันธ์

สังเกตอาการปอดอักเสบในเด็ก

%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%99

โรคปอดอักเสบ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ปอดบวม เป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะเด็กเล็ก และแพร่ระบาดหนักในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ในเด็กเล็กที่พิการแต่กำเนิด คลอดก่อนกำหนด มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ
เกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
1.ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การแพ้หรือการระคายเคืองจากสารที่สูดดมเข้าไป การลำสักอาหาร
2.ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่วนเชื้อราและพยาธิพบได้น้อย แบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียทีอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ เชื้อ Haemophilus Influenza Type B (HIB), เชื้อ Staphylococcus aureus หรือ Mycoplasma Pneumonia, Chlamydia Pneumonia เชื้อไวรัสที่พบบ่อย เช่น เชื้อ respiratory syncytial virus (RSV), ไข้หวัดใหญ่ (Influenza), เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV)

โรคปอดอักเสบติดต่อกันอย่างไร
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุมักอยู่ในน้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายได้จากการ ไอ จาม หรือหายใจรดกัน การสำลักเอาสารเคมี หรือเศษอาหารเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ และการอักเสบในอวัยวะส่วนอื่นๆ

อาการปอดอักเสบ
•มีไข้
•ไอ มีเสมหะ
•หายใจเหนื่อย
•ขณะหายใจมีชายโครง หรือหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ
•ในเด็กเล็กอาจมีอาการซึม เบื่ออาหาร ไม่กินนม หรือชักจากไข้สูง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
•การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีที่ติดเชื้อจากแบคทีเรีย
•ภาวะช็อก กรณีติดเชื้ออย่างรุนแรง
•มีภาวะน้ำหรือเป็นหนองในเยื่อหุ่มปอด
•ภาวะมีฝีในปอด

การรักษาปอดอักเสบ
วิธีการรักษาปอดอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.การรักษาทั่วไป
•รักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ
•ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในรายที่มีอาการหอบมาก ท้องอืด รับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ
•ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
•กายภาพบำบัดทรวงอก เช่น เคาะปอด หรือการฝึกการไอให้ได้คุณภาพ เพื่อระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม หากไม่สามารถเอาเสมหะออกไม่ได้ควรได้รับการดูดเสมหะ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

2.การรักษาแบบเฉพาะ
•ในรายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้น ไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 ที่มียาต้านเชื้อไวรัส ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ จะรักษาตามอาการ
•รักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเร็ว หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

การป้องกัน
•ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่
•หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
•หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถ
•ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ , วัคซีนโรคฮิบ และวัคซีน IPD

พญ.จินตนา จินะปริวัตอาภรณ์
แพทย์ชำนาญการด้านกุมารเวชกรรม
แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10215-10216

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*