กระดูกสะโพกหักเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่ายในผู้สูงอายุ เนื่องจากกระดูกมีความหนาแน่นลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงสูงจากภาวะกระดูกพรุน หากผู้สูงอายุหกล้มจนสะโพกหัก ควรรีบรักษาทันทีเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงชีวิต
กระดูกสะโพกหักคืออะไร?
เป็นการหักของกระดูกบริเวณคอสะโพก (Intertrochanteric และ Subtrochanteric Area) ซึ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุ มีสัญญาณคือขาผิดรูป ขยับไม่ได้ และไม่สามารถรับน้ำหนักที่ขาหักได้
การวินิจฉัย
ใช้การเอ็กซเรย์เพื่อตรวจสอบ หากภาพไม่ชัดอาจใช้ CT หรือ MRI ร่วมด้วย เมื่อพบการหัก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดโดยเร็ว
วิธีรักษา
การรักษาหลักคือการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมี 2 วิธีหลัก
•ผ่าตัดยึดกระดูก: จัดเรียงและยึดกระดูกเข้าที่ด้วยสกรูและแผ่นโลหะ
•ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยนำกระดูกที่หักออกแล้วใส่ข้อเทียมแทน
ควรการทำกายภาพหลังการผ่าตัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาลุกยืน เดินได้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงดังเดิมก่อนกระดูกสะโพกหัก
ข้อดีการผ่าตัด
•ลดโอกาสเกิดภาวะการนอนติดเตียง
•ลดโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณหลังและก้นกบ
•ลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
•ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
•กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงดังเดิมก่อนกระดูกสะโพกหัก
นพ. สมพร สุทธิทศธรรม
แพทย์ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกออร์โธปิดิกส์
แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10145-10146