ข่าวประชาสัมพันธ์

ไข้หวัดใหญ่ เรื่องใกล้ตัวอันตรายกว่าที่คิด

%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%95

เมื่อฤดูเปลี่ยนเป็นช่วงเวลาที่หลายคนเริ่มป่วยง่ายขึ้น และโรคที่ต้องระวังอย่างยิ่งก็คือ “ไข้หวัดใหญ่” ที่แพร่กระจายได้รวดเร็วจากการติดเชื้อ Influenza Virus ซึ่งแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสละอองฝอยจากการไอ จาม หรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคโดยตรง โดยโรคนี้สามารถส่งกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

อาการของไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ้มีอาการที่คล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจะแสดงอย่างรุนแรงกว่า โดยอาการหลักๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
1.ไข้สูง และรู้สึกเพลีย อาการไข้สูงเป็นสัญญาณเด่นของโรคนี้ และอาจทำให้รู้สึกเพลียอย่างมาก
2.ไอ และมีน้ำมูก ลักษณะไออาจเป็นไอแห้งหรือไอมีเสมหะร่วมด้วย
3.หนาวสั่น รู้สึกหนาวสั่นทั่วร่างกาย แม้ในสถานที่อบอุ่นก็ตาม
4.ปวดกล้ามเนื้อ อาจรู้สึกปวดเมื่อกล้ามเนื้อและข้ออย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณหลังและแขนขา

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
ไข้หวัดใหญ่สามารถส่งผลอันตรายกับคนทุกวัย แต่กลุ่มเสี่ยงที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษได้แก่
•ผู้สูงอายุ
•เด็กเล็ก
•ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
•ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน

การรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้วัคซีนต้องปรับปรุงสูตรใหม่ทุกปี เพื่อให้สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่วงฤดูเปลี่ยน
•ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย
•พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับที่เพียงพอช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน
•รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

นพ.วินัย แช่มปรีดา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมทั่วไป
แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10115-10116

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*