Uncategorized

เทศบาลตำบลบางปู จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนสำหรับการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์

%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%95%e0%b8%b3%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%b9-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9d

เทศบาลตำบลบางปู จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนสำหรับการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์จรจัดในชุมชน ภายใต้โครงการเปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2568

วันที่ 24 ธันวาคม 2567 เวลา 08.00 น.ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 5 สำนักงานเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลตำบลบางปู จัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนสำหรับการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์จรจัดในชุมชน ภายใต้โครงการเปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมี นายธีรพล ชุนเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลบางปู ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมี ดร.สมเจตน์ ทองเทศ ปลัดเทศบาลตำบลบางปู กล่าวรายงาน ภายในงานมีพิธีร่วมลงนามันทึกข้อตกลง MOU ความร่วมมือระหว่าง เทศบาลตำบลบางปู กับประธาน กรรมการชุมชน จำนวน 50 ชุมชน แนะนำสาธิตขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสุนัขจรจัด โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบางปู บรรยายให้ความรู้ เรื่อง โรคพิษสุนัขบ้า อันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรปราการ บรรยายให้ควารู้ เรื่อง โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน เทคนิคการจับควบคุมบังคับสัตว์ การเฝ้าระวังโรคในชุมชน และการแจ้งเตือนหากมีสัตว์ต้องสงสัยในชุมชน โดยงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางปู ประธาน และคณะกรรมการชุมชน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน เข้าร่วมงาน

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนสำหรับการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์จรจัดในชุมชน ภายใต้โครงการเปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2568 ในครั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายประชาชนในการเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์จรจัดในชุมชน และเพื่อสร้างระบบการจัดการสุนัขจรจัดให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ จากผลการสำรวจและขึ้นทะเบียนจำนวนสัตว์ของโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา มีจำนวนสุนัขจรจัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 1,518 ตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงกระบวนการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในชุมชนเพื่อให้จัดการเป็นไปอย่างมีระบบและง่ายต่อการจัดการ โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสุนัขชุมชนตลาดแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงครามและโครงการหมาซีเอ็มยู เปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชนอยู่ร่วมกับคนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนำมาประยุกต์และปรับใช้ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู จึงได้จัดทำโครงการ เปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชนอยู่ร่วมกับคนอย่างยั่งยืน

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*