สพป.สมุทรปราการ เขต 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐานตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2565 เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเด็กสามารถทำการทดลองการปฏิบัติได้ด้วยตนเอง จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เป็นการจุดประกายความคิดเด็กกับครูเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข มีครูเข้าอบรม 124 คน
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมเอราวัณ อาคาร 1 ชั้น 3 นายทศพร ถือพุดซา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มอบหมายให้ ดร.ภูมิ พระรักษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปีการศึกษา 2565 มีนางสาววรางคณา กันประชา ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดอบรม เพื่อส่งเสริมประสบการณ์และเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมตามวัย เพิ่มพูดพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้พื้นฐานและเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้กับครูนำไปพัฒนาคุณภาพการดำเนินโครงการตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีดร.คณาพร คมสัน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ร่วมเป็นเกียรติ ซึ่งมีครูระดับปฐมวัย รุ่นที่ 1, 3, 6 และ 9 โรงเรียนละ 2 คน เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 124 คน มีวิทยากรให้ความรู้ประกอบด้วยครูจากโรงเรียนวัดแพรกษา นางวนิดา ขามชู ครูชำนาญการพิเศษ นางสาวรุ่งฤดี นวลละออง นางสาวอมรรัตน์ มะปะเท นางสาวธัญญพัทธ์ วัฒน์วรเศรษฐ นางสาววิมลรัตน์ สินจันอัด นางสาวบงกช รัศมีธนาวงศ์ นางอรพิน บัวเมือง และคณะศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้เวลาในการอบรม 1 วัน กิจกรรมที่ปฏิบัติ เนินน้ำ หมุดลอยน้ำ การลอย การจม เรือแบบใดบรรทุกน้ำหนักได้มากที่สุดและน้ำจืดน้ำเค็ม
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยมีความสำคัญ ซึ่งเป็นการวางรากฐานและสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา มีความสนใจ กระตือรือร้น และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 การจัดกิจกรรมลักษณะการบูรณาการผ่านการเล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหากหลาย เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จัดประสบการณ์ให้เด็กได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและนำเสนอความคิดโดยครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก กระตุ้นจุดประกายความคิดให้กับเด็กและเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข