ปัจจุบันปัญหาอุบัติภัยจากการจราจรเพิ่มสูงขึ้นทั้งด้านปริมาณและความรุนแรง สำหรับประเทศไทยอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
ในปีๆ หนึ่ง ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเฉลี่ยกว่า 20,000 คน หรือคิดเป็นชั่วโมงละ 2 – 3 ราย ผู้บาดเจ็บ 1 แสนคน และในจำนวนนี้ กลายเป็นผู้พิการ 60,000 ราย ซึ่งทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณกว่า 5 แสนล้านบาทในการดูแล การเกิดอุบัติเหตุบนถนนนั้น มาจาก 2 ปัจจัยคือ เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ พฤติกรรมต่างๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ความประมาท มักง่าย การฝ่าฝืนกฎระเบียบ เป็นต้น และเกิดจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนชำรุด แสงสว่างไม่เพียงพอ ทางโค้ง ทางลงลาดชัน เป็นต้น โดยสรุปแล้วปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุในการจราจร ได้แก่ ถนน ยานพาหนะ ผู้ใช้รถใช้ถนนและสิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก จึงต้องแก้ที่สาเหตุของปัญหาดังกล่าว โดยเน้นหลัก 3 ประการคือ การให้การศึกษาเกี่ยวกับการจราจรด้านความรู้ /เจตคติและการปฏิบัติ การควบคุมบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย /และการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างด้านวิศวกรรมจราจร
1.จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด
ความมักง่ายของคุณมันอาจทำให้กีดขวางการสัญจรบนท้องถนนของผู้อื่น ซึ่งคุณไม่เคยนึกถึง ทั้งๆมีป้ายห้ามจอดอยู่ชัดเจนก็ตาม แต่คุณไม่สนใจว่าจะเกะกะการจราจรเพียงไร
จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด ผิดกฎหมายจราจรตามมาตรา 57
2.เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ
การที่บางคนหลงลืม บางคนไม่เปิดเป็นนิสัย บางคนตั้งใจไม่เปิด เพราะเคยพบกับคนอื่นที่นิสัยไร้น้ำใจ ซึ่งทำให้การเปิดไฟเลี้ยวที่น่าจะเป็น การเตือนให้ทราบหรือขอทาง แต่กลับเป็นการเตือนให้รู้ตัวและก็เร่งความเร็วมาปิดช่องว่าง หลายคนจึงไม่เปิดไฟเลี้ยว ด้วยเหตุผลสั้นๆ คือ ไม่อยากให้คนอื่นรู้ตัว ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นควรเปิด เพราะจะได้ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และก็คงไม่พบกับคนไร้น้ำใจกันทั้งถนน
ผิดกฎหมายจราจรตามมาตรา 36
3.ขับรถแซงรถคันอื่นแล้วตัดหน้ารถคันที่ถูกแซงในระยะกระชั้นชิด
ในปีๆ หนึ่ง ไทยมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเฉลี่ยกว่า 20,000 คน หรือคิดเป็นชั่วโมงละ 2 – 3 ราย ผู้บาดเจ็บ 1 แสนคน และในจำนวนนี้ กลายเป็นผู้พิการกว่า 60,000 ราย ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณกว่า 5 แสนล้านบาทในการดูแล
ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนควรจะ
1) ร่วมมือกันเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกคนทราบกฎระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษ ในการฝ่าฝืนกฎต่าง ๆ ทำให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกและเคารพกฎระเบียบ
2) การปรับเพิ่มบทลงโทษหรือค่าปรับยังให้เหมาะสม หากค่าปรับต่ำเกินไปทำให้มีการฝ่าฝืนกฎจราจรอยู่เสมอ
3) การเพิ่มมาตรการทางกฎหมายที่มิได้กำหนดอายุสูงสุดของผู้ขับขี่ รวมทั้งการศึกษาขั้นต่ำของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะสอบผ่านและได้รับใบอนุญาตขับขี่มาแล้วก็อาจทำผิดกฎจราจรและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และ
4) การเพิ่มการกวดขัน จับกุม หรือความจริงจังหรือเข้มงวดในการพิจารณาดำเนินคดีหรือจับกุม ผู้กระทำผิด ที่เป็นสาเหตุให้ขับรถหรือใช้รถใช้ถนนอย่างเสรี ตามอำเภอใจ ซึ่งมักทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ผู้ขับขี่บนท้องถนนควรตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเอง ครอบครัวผู้โดยสาร และผู้ร่วมใช้ทางมาเป็นอันดับแรกโดยหมั่นดูแลทั้งตนเองและตรวจสภาพรถยนต์ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งติดตามกฎระเบียบใหม่ ๆ และเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ขับรถด้วยความระมัดระวังไม่ขับขี่ด้วยความคึกคะนองหรือประมาทอันจะทำให้ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและความสูญเสียต่อตนเอง ครอบครัวและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
ผู้เขียนขณะนั่งสนทนากับ ตำรวจ ยังมีโทรศัพท์ เข้ามาเพื่อขอไม่ให้จับกุม อ้างสารพัด คนใหญ่ คนโต ตำรวจก็ไม่ได้สนใจ เพราะคนขับ ทำผิดกฏหมายซ้ำซาก แถมบางครั้ง ยังเป็นต่างชาติ หลายคนบอกว่าพื้นที่ สมุทรปราการ เขาอยู่กันแบบนี้ คือทำผิดจนเป็นอาจิน(บางคน) ไม่คิดที่จะพัฒนาทำดี ทำถูก เป็นพวกเห็นแก้ตัวแต่เกิดถึงตรงนี้ คงบอกว่าการสร้างระบบดังกล่าวต้องเริ่มจากการปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กๆ และเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลา (นาน) ขณะที่อีกหลายคนคงบอกว่า คงยากที่ระบบเช่นว่านี้จะเกิดขึ้นในไทย ผลก็คือปัญหานี้และวิธีการที่ใช้แก้ปัญหากันอยู่ กลายเป็นเรื่องพายเรือในอ่าง วนๆ กันไป
ขณะเดียวกันทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสมุทรปราการ นำทีมโดย พ.ต.ท. คเชนทร์ บุญทวี รอง ผกก.จร. พ.ต.ต.ยุทธชัย สุดเสน่ห์ สว.จร. สภ.เมืองสมุทรปราการ พร้อมกำลังตำรวจจราจร สภ.เมืองสมุทรปราการ ร่วมกับเทศกิจเทศบาลนครฯ กวดขันรถจอดในเขตห้าม (ขาว-แดง) จอดรถบริเวณทางข้ามหรือทางม้าลาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับประชาชนใช้ทางข้ามไม่สะดวก ไม่ปลอดภัย การจราจรติดขัด การจอดรถแท็กซี่บริเวณตลาดวิบูลย์ศรี เอเครื่องกีดขวางวาง บนถนนห้ามรถจอดหน้าร้าน บริเวณวงเวียนท้ายบ้าน พร้อมทั้ง ประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการร้านค้า ห้ามตั้งวางโต๊ะ-เก้าอี้ หรือสิ่งของบนพื้นผิวการจราจรโดยผิดกฎหมาย และจะทำตามกฏหมายอย่างจริงจัง.
การล็อกล้อ คือการช่วยลด ใบสั่ง 2 ล้านใบที่คา ทำไรไม่ได้เวลานี้.
พอจะช่วยไหม ไม่รู้ ที่แน่ การเสียเวลา.