ท้องถิ่น

อบจ. ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%88-%e0%b8%9b%e0%b8%8f%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a5

ด้วยในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้สภาพอากาศปิดและมีสภาพอุตุนิยมวิทยาที่แปรปรวน เพดานการลอยตัวอากาศมีแนวโน้มลดต่ำลงทำให้การกระจายตัวของฝุ่นละอองไม่ดี ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในบางช่วงเวลาได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ นำโดย น.ส.นันทิดา แก้วบัวสาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ ดังกล่าว ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ดำเนินการจัดเตรียมรถบรรทุก 6 ล้อ พ่นละอองน้ำ พร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก 10 ล้อ ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำ พร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ รถยนต์บรรทุกน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานฉีดพ่นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยขั้นตอนการปฏิบัติ ฝ่ายช่างสุขาภิบาล กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปล่อยรถบรรทุก 6 ล้อ พ่นละอองน้ำ พร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก 10 ล้อ ติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ รวมจำนวน 12 คัน ปฏิบัติงานฉีดพ่นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอพะประแดง อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอบางบ่อ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ 2. ลดการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ จากการสูดดมฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

https://prakannews.com/home/wp-content/uploads/2023/01/011Peta-1.jpg

โดยกรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย กรุงเทพฯและปริมณฑล ประจำวันพุทธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 12:00 น. ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 34 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) อยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ กลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง หมายถึง เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือด

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*