ข่าวประชาสัมพันธ์, สังคมท้องถิ่น

โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1

%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b1

โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 3

เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 30 มกราคม 2566 นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 3 พื้นที่ศึกษาตั้งแต่ระบบหาดบ้านอ่างศิลา -บางปะกง ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ถึงระบบหาดบางตะบูน-บางแก้ว ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ณ ภัตตาคารชมทะเล ง้วนเฮง ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศิรวัชร อ่อนเหล่า โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวรายงานการประชุม พร้อมด้วย ผศ.ดร. สมฤทัย ทะสดวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง และนายยุทธนา เทพทอง นักวิชาการสิ่งแวดล้อม มานำเสนอรายละเอียดโครงการ และร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีนายพชร ศศิชาชยามร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว และภาคประชาชน ฝ่ายปกครอง และประชาชน เข้าร่วมรับฟังข้อมูลโครงการและร่วมแรกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นไปในลักษณะเชิงพื้นที่หรือในลักษณะกลุ่มหาด สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการองค์กรความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและจัดทำแผนหลักแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ศึกษาตามระบบกลุ่มหาด โดนคำนึงถึงตวามเหมาะสมทางวิศวกรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ทั้งนี้การดำเนินการศึกษาต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยต้องดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 4 ครั้ง และการประชุมกลุ่มย่อยเชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรม การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงสรุปผลการศึกษาร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการในพื้นที่ศึกษาตามระบบกลุ่ม

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*