ข่าวประชาสัมพันธ์

๕ หน่วยงานร่วมแถลงข่าวสร้างความชัดเจน “บุหรี่ไฟฟ้า”

%e0%b9%95-%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (พันตำรวจเอก ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พลตำรวจโทไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี) กรมศุลกากร (นายคณิต มีปิด ผู้อำนวยการกองกฎหมาย) กรมการค้าต่างประเทศ (นายนพดล คันธมาศ ผู้อำนวยการกองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป) และกรมควบคุมโรค (นายแพทย์ ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ) ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวเพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจกรณีการบังคับใช้กฎหมายกับบุหรี่ไฟฟ้าและพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ณ ห้องประชุม 4 ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับ”บุหรี่ไฟฟ้า การสูบ – ครอบครอง ไม่ได้นำเข้า – ผลิต – ขาย ผิดกฎหมาย หรือไม่ ” ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ ๑. กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่ ๙/๒๕๕๘ เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒. กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามีความผิดประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือปรับเป็นเงิน ๕ เท่า ของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กับให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุ และพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้านั้นด้วย นอกจากนั้นยังเป็นความผิด

ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๔ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษา หรือไม่

๓. กรณีผู้ครอบครองหรือรับไว้ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้า อันเป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรจะมีความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา ๒๔๖ วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่า

ของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามแม้จะไม่มีเจตนาหรือไม่รู้ว่าเป็นของมีความผิด ก็ต้องถูกริบให้ตกเป็นของแผ่นดินและนำไปทำลายตามกฎหมายของศุลกากร

สคบ. จะดำเนินคดีกับผู้ลักลอบจำหน่าย หรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ หรือบารากู่ไฟฟ้าทุกราย หากผู้ใดพบเห็นการจำหน่ายหรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ หรือบารากู่ไฟฟ้า สามารถแจ้งเบาะแส(โดยข้อมูลการแจ้งเบาะแสของท่าน สคบ. จะเก็บไว้เป็นความลับ) ได้ที่สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ (ในวันและเวลาราชการ) และ ผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ “ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค” หรือ โมบายแอพพลิเคชั่น “OCPB Connect ” ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือแจ้งสถานีตำรวจในท้องที่

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*