ท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น

ชาวชุมชนคลองตาเจี่ย สืบสานการละเล่น “หมากรุกคน” ประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ กว่า 80 ปี ใช้คนจริงเดินตามกระดานของคนเล่นข้างสนาม

%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2-%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%9a

เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 14 เมษายน 2566 ที่บริเวณลานหน้าวัดราษฎร์บำรุง หรือวัดคลองตาเจี่ย ต.บางปู อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ชาวชุมชนคลองตาเจี่ย สืบสานการละเล่น “หมากรุกคน” ประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ ที่มีมานาน กว่า 80 ปี ถือว่าเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะคนที่เล่นมาจากคนในชุมชนจริงๆ และมีการสืบทอดรุ่นต่อรุ่นจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งชุมชนแห่งนี้ จะมีการจัดละเล่นหมากรุกคนเป็นประจำทุกปีในวันที่ 14 เม.ย. โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากชาวบ้านต่างมาจับจองพื้นที่เข้าชม โดยจะมีผู้เล่นหมากรุก 2 คน นั่งประจำกระดานหมากรุก เตรียมเดินตัวหมากรุก ผู้เล่นอีก 32 คน แต่งกายแบบทหารโบราณ แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 16 คน เครื่องแต่งกายคนละสี ศีรษะสวมหัวแสดงให้รู้ว่าเป็นขุน โคน ม้า เรือ หรือเบี้ย ขัดตารางบนพื้น เมื่อผู้เล่น เดินหมากรุกตัวใดบนกระดานไปตาไหน จะมีคนพากย์ทางไมโครโฟน ให้หมากรุกคนเดินเหมือนตัวหมากรุกไปตานั้น วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงให้เหมาะสม กับลีลาและศักดิ์ศรีของหมากรุกตัวนั้น หากหมากรุกตัวใดถูกฝ่ายตรงข้ามกิน หมากรุกตัวนั้น ต้องออกจากการเล่น เล่นกันไปจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจน

โดยผู้เล่นหมากรุกคน ทั้ง 32 คน จะประกอบไปด้วยขุนหรือตัว แม่ทัพ 1 ตัว โคนเปรียบเสมือนทหารเอกคู่ใจหรือ รองแม่ทัพ 2 ตัว เม็ด เปรียบเสมือนทหาร หน่วยทะลวงฟัน 1 ตัว ยานพาหนะ ม้า 2 ตัว และ เรือ 2 ตัว นอกจากนี้ยังมีเบี้ยซึ่งเปรียบเสมือนพลทหารราบลุยเป็น กองทัพหน้าอีก 8 ตัว ทั้งหมดบนกระดานมีฝ่ายละ 16 ตัว “คนที่แสดงเป็นหมากจะอยู่ในชุดแตกต่างกันตามแต่ละหน้าที่ และเพื่อให้แยกความต่างของทั้ง 2 ฝ่าย บางครั้งจึงมีการสมมุติให้ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายไทย ส่วนอีกฝ่ายนั้นแล้วแต่จะเลือกประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีลักษณะการแต่งกาย การต่อสู้ เพลงที่ใช้สำเนียงแต่ละชาติแตกต่างง่าย สำหรับผู้ชมสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน” ”ม้าถือเป็นตัวสร้างสีสันเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากคนดูได้ทุกครั้งที่แสดงท่าทาง ส่วนหมากตัวอื่นเป็นเรื่องของท่ารำ ม้าไปกำกับธรรมชาติไม่ได้ ปล่อยไปตามท่าทางตามธรรมชาติ ผู้แสดงต้องระลึกอยู่เสมอว่าขณะอยู่บนตารางสวมวิญญาณความเป็นม้า เพราะฉะนั้นจะแสดงท่าทางอย่างไรก็ได้ให้อยู่ในท่าทางตามธรรมชาติของม้า ไม่ว่าจะร้องเป็นเสียงม้า แสดงท่าทางดีดกะโหลกแบบม้า ท่ารำ และเพลงของม้าที่ใช้แฝงความสนุกอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ส่วนอรรถรสของการแสดงมองไปที่การต่อสู้” ในหมากรุกเวลาจะกินกันนิยมบรรเลงด้วยเพลงเชิด

นอกจากนี้ยังนำเอาอาวุธกระบี่กระบองมาใช้ในการต่อสู้ ฝ่ายถูกกินเป็นฝ่ายต้องตาย นิยมใช้เพลงโอดบรรเลงช่วงที่ตัวหมากตาย ซึ่งการละเล่นหมากรุกคน ของชุมชนคลองตาเจี่ย ถือว่าเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะคนที่เล่นมาจากคนในชุมชนจริงๆ ซึ่งบรรยากาศการละเล่น “หมากรุกคน” ในครั้งนี้ สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับชาวบ้านได้มีความสุขกัน ในวันปีใหม่ไทย

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*