ข่าวประชาสัมพันธ์

ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจง่าย วินิจฉัยแม่นยำ

%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%95

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มีประโยชน์ในการรักษาและการตรวจวินิจฉัยอย่างมาก เพราะจะทำให้สามารถเห็นถึงสาเหตุของอาการต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้วินิจฉัยโรคและสามารถรักษาได้ทันเวลา ลดโอกาสเสี่ยงโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการที่ควรมาส่องกล้อง

  • ปวดท้องบ่อย เป็นๆ หายๆ ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ กลืนอาหารลำบาก
  • อายุ 45 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
  • มีอาการปวดท้อง ร่วมกับน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ไม่ได้อดอาหาร
  • ท้องเสีย สลับท้องผูก หรืออุจจาระมีเลือดปน มีติ่งเนื้อยื่นออกมา
  • เป็นโรคกระเพาะบ่อย ถึงแม้จะกินยาก็กลับมาเป็นอีก
  • ปวดท้อง คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
  • อาเจียนเป็นเลือด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้อง

  • งดน้ำอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนการส่องกล้อง
  • กรณีมีโรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำควรปรึกษาแพทย์ประจำเพื่อพิจารณาหยุดยาบางตัวที่มีผลต่อการส่องกล้อง
  • หากมีฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องถอดออกก่อน
  • ควรมีญาติมาด้วยในวันที่รับการส่องกล้อง เพราะแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ จะทำให้มีอาการง่วงซึม ไม่แนะนำให้ขับรถเองหลังรับการตรวจ

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)
ผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาในคอ และให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย แพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคปในการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร โดยกล้องส่องมีลักษณะยาว เล็กและโค้งงอ มีเลนส์กล้องและแสงไฟอยู่ส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากผ่านทางหลอดอาหารลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งจะสามารถทำให้เห็นความผิดปกติที่เกิดในหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารได้

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
แพทย์จะฉีดยาหลับเพื่อให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและหลับ หลังจากนั้นจะใส่กล้องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลำไส้ทั้งหมดและลำไส้ส่วนปลายว่ามีแผลอักเสบ มีติดเชื้อ หรือมีติ่งเนื้อหรือไม่ ผู้ที่ควรส่องกล้องสำไส้ใหญ่มักจะมีอาหารเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ท้องอืดแน่น

คนไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคระบบทางเดินอาหารสูงขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งด้านการรับประทานอาหารผิดเวลา ความเครียด สิ่งเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร และก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้ ดังนั้นการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

โดย นพ.วินัย แช่มปรีดา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมทั่วไป
แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10115-10116

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*