ศาสนาและการศึกษา

สช. จับมือ กขป.6 จัดกิจกรรม “การประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะ ของสถานศึกษา ภาคตะวันออก” มุ่งสร้างนิสิต นักศึกษา สู่การเป็นนักสื่อสารสุขภาวะ

%e0%b8%aa%e0%b8%8a-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%9b-6-%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1

สช.และ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 6 จัดกิจกรรมการประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะของสถานศึกษา ภาคตะวันออก พร้อมมอบรางวัลให้แก่นิสิต นักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ร่วมสร้างบุคลากร นิสิต นักศึกษาให้สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และคณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 (กขป.6) ได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลการประกวดสื่อรณรงค์ สุขภาวะของสถานศึกษา ภาคตะวันออก ณ ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา ตำบลหน้า เมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน

เขตพื้นที่ 6 (กขป.6) เป็นประธานในพิธี และได้รับเกียรติจากนายแพทย์ อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มอบรางวัล และ เสวนา ใน หัวข้อ “นิเทศศาสตร์ กับ งานสุขภาวะในชุมชน” ร่วมกับ คณาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี โดยมี คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม กว่า 50 คน

การประกวดในครั้งนี้ นิสิต นักศึกษา ผลิตผลงานส่งเข้าร่วมประกวดมากกว่า 50 ผลงาน และมีผู้ที่ ได้รับรางวัลทั้งหมด 12 ทีม แบ่งออกเป็นรางวัลชนะเลิศ จำนวน 4 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 4 รางวัล และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 4 รางวัล โดย สถาบันการศึกษาที่ได้รับรางวัล ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพ พรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี

นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า สช. ให้ ความสำคัญกับสื่อสุขภาวะในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้านโดยคำนึงถึงผู้รับสารเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึง ต้องมีการปรับตัวของการสื่อสารสุขภาวะในทุกระดับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้สามารถดำเนินงานได้ และประสบผลสำเร็จ การสื่อสารสุขภาวะ (Health Communication) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วย สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินงาน อีกทั้งการสื่อสารสุขภาวะที่ดีจะสามารถ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) การผลิตสื่อสุขภาวะตามความต้องการของผู้รับ สารให้เป็นปัจจุบันทั้งช่องทาง เนื้อหา ภาษา การเล่าเรื่อง และสถานการณ์ เป็นเรื่องสำคัญ

สช.เห็นความสำคัญ และ พลังของเด็กและเยาวชนในการสื่อสารสุขภาวะทั้งเป็นผู้ผลิต ผู้ใช้ สื่อ จึงสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนานักสื่อสารสุขภาวะในสถานศึกษา” โดยเริ่มต้นที่ภาค ตะวันออก เป็นแห่งแรก และจะขยายไปในภาคอื่น ๆ ต่อไป ในอนาคต นพ.อภิชาติ กล่าว

ด้าน นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 เผยว่า กขป.6 เป็นหน่วยงานที่ดูแลประเด็นสุขภาวะในภาคตะวันออก ทำหน้าที่ในการสื่อสารให้ เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออก จึงมีการประสานงานกับ สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ บูรณาการการผลิตเนื้อหาและสื่อสุขภาวะในรายวิชาที่เปิด สอนผ่านโครงการ “พัฒนานักสื่อสารสุขภาวะในสถานศึกษา ภาคตะวันออก” ในประเด็นสุขภาวะ มิติต่าง ๆ รอบด้าน ทำให้สถานศึกษาในภาคตะวันออกมีการดำเนินการผลิตสื่อดังกล่าว เพื่อใช้ใน การเผยแพร่ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อสาธารณชนในช่องทางดิจิทัลมีเดีย ต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*