สังคมท้องถิ่น

กพร. เปิดตัว “เครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์” แห่งแรกในไทย ชูต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ดันภาคอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%81

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มาเป็นประธานพิธีเปิดงานตัวเครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แห่งแรกในไทย โดยมี ดร.ณัฐพล รักสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหรรม เป็นผู้กล่าวคำเปิดงาน

โดยภายในงานจัดเป็นรูปแบบการสัมนาเชิงวิชาการ โดยมีผู้แทนและประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกันเป็นจำนวนมาก

ด้าน ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า สำหรับเครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นผลงานสำคัญของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ที่เกิดจากการขยายผลและต่อยอดผลงานที่ผ่านมา จนกระทั่งได้ออกแบบและพัฒนา “เครื่องคัดแยกซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อน” โดยสามารถคัดแยกส่วนประกอบต่างๆในซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถคัดแยกวัตถุดิบกลับมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ ลวดนำไฟฟ้า เศษกระจก และแผ่นซิลิกอนที่มีโลหะเงินเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเครื่องคัดแยกนี้นับเป็นเครื่องจักรต้นแบบเครื่องแรกในประเทศไทย จนปัจจุบัน กพร.ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีรีไซเคิลและนวัตกรรมวัตถุดิบ ร่วมกว่า 85 ชนิด โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจเฉลี่ยกว่า 400 รายต่อปี

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*