สังคมท้องถิ่น

ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร นำคณะกรมโยธาธิการและผังเมือง เจ้าท่าจังหวัดสมุทรปราการ และคณะกรรมการหอการค้า

%e0%b8%aa-%e0%b8%aa-%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98-%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%a3-%e0%b8%99

ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร นำคณะกรมโยธาธิการและผังเมือง เจ้าท่าจังหวัดสมุทรปราการ และคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ลงเรือสำรวจพื้นที่การสร้างเขื่อนน้ำกัดเซาะแนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 ก.ค.63 ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ส.ส.สมุทรปราการ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วย นายสุนทร ปานแสงทอง ที่ปรึกษาประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายจาตุรนต์ โรจน์หิรัญ หน.กลุ่มงานพัฒนาพื้นที่ตลิ่งริมน้ำและริมทะเลทั่วประเทศ กรมโยธาธิการและผังเมือง นายภูชนะ อ่อนน้อม หัวหน้าปฏิบัติการ สำนักงานโยธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ นายฉัตรชัย เวชสาร เจ้าท่าภูมิภาคจังหวัดสมุทรปราการ กำนันตึ๊ง ไพบูณร์ พินเที่ยง นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จ.สมุทรปราการ ดร.พิริยะ โตสกุลวงศ์ กรรมการหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายอนุวัช ควรคิด หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบจ.สมุทรปราการ นางมัทรียา เอี่ยมพินิจ เลขานุการ ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ตลอดจน เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง และสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ ลงเรือบริเวณท่าน้ำบ้านขาวรินอ่าวเจ้าพระยา ถนนท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เพื่อสำรวจพื้นที่การสร้างแนวเขื่อนน้ำกัดเซาะแนวชายฝั่งอย่างรุ่นแรง ของจังหวัดสมุทรปราการ

โดย ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ส.ส.สมุทรปราการ เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ ได้กล่าว ถึงการลงเรือสำรวจพื้นที่การสร้างแนวเขื่อนน้ำกัดเซาะแนวชายฝั่งอย่างรุ่นแรง ของจังหวัดสมุทรปราการ ในครั้งนี้ เป็นฝั่งตะวันออก แบ่งเป็น 3 ระยะทาง โดยระยะที่ 1 ประมาณ 5 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงวัดอโศการาม ระยะที่ 2 จากวัดอโศการาม ถึงตำหรุ 10 กิโลเมตร และจากตำหรุ ไปถึงคลองด่าน อีก 12 กิโลเมตร โดยเมื่อวันนี้ 1 กรกฏาคม 2563 ก่อนเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ได้ขอหารือท่านชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร เพื่อติดตามเร่งรัดเรื่องของการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ และกระทรวงมหาดไทย ได้เห็นความสำคัญ จึงส่งนายจาตุรนต์ โรจน์หิรัญ หน.กลุ่มงานพัฒนาพื้นที่ตลิ่งริมน้ำและริมทะเลทั่วประเทศ กรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมด้วย โยธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ และเจ้าท่าภูมิภาคจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่สำรวจแนวเขื่อนน้ำกัดเซาะ ในครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ได้จัดเตรียมเรือในการสำรวจเส้นทางทั้งหมด 4 ลำ

ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ยังกล่าวอีกว่า ถ้าหาก 3 ระยะที่ได้อธิบายไปในเบื้องต้น ทำสำเร็จ ก็จะสามารถไปต่อระยะแรกที่ทำไว้ 10 กิโลเมตร ดูแล้วความเป็นไปได้ส่วนกลางหรือรัฐบาลจะสนับสนุนให้กับจังหวัดสมุทรปราการ ในด้านเขื่อนกัดเซาะแนวชายฝั่งอย่างรุ่นแรง ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 2 ที่ได้กันไว้ 2 ระยะ ก็น่ามีความเป็นไปได้ โดยมีหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ที่สนับสนุน และเป็นแรงพักดันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พูดในสภา ซึ่งถ้าทำสำเร็จมันจะเกิดผลประโยชน์กับชุมชน และประชาชน ก้นอ่าวไทย ที่จะได้รับผลประโยชน์ในเรื่องประมงชายฝั่ง รวมถึงการท่องเทียว และเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของจังหวัดสมุทรปราการ ชั้นในอีกด้วย

ด้านนายสุนทร ปานแสงทอง ที่ปรึกษาประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ได้กล่าว สำหรับโครงการนี้ ทางประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ได้มีนโยบายและแนวความคิด ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ว่า ถ้าเรามีกำแพงกันแนวน้ำกัดเซาะ โดยสันเขื่อนจะมีความกว้างถึง 4 เมตร ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ทำเป็นเลนจักรยาน ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว เรียกได้ว่าเป็นการฟื้นฟูและพัฒนาในเรื่องของความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ได้คิดว่าโครงการดังกล่าวนี้ เป็นโครงการที่ดี และพร้อมให้การสนับสนุน นอกจากนี้ทาง อบจ.สมุทรปราการ จะมีการปลูกโกงกางเทียมบริเวณหน้าเขื่อนอีกชั้น ซึ่งจะเป็นเหมือนกำแพงสองชั้น โดยทาง อบจ.สมุทรปราการ มีแผนตั้งแต่ช่วงปากอ่าว ไปจนถึงคลองด่าน ซึ่งขนาดนี้เฟสที่ 1 กำลังดำเนินการอยู่ เมื่อทั้งสองมาผสมกันก็คือทั้งเขื่อนทั้งโครงการเทียม ก็จะช่วยในเรื่องของการกัดเซาะและป้องกันการทำรายทั้งระบบนิเวศก็ดี และความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะได้ดีขึ้น อีกด้วย โดยนายสุนทร ปานแสงทอง ยังได้กล่าวขอบคุณ ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร และคณะทำงาน ซึ่งหวังว่าคงจะช่วยกันพักดันให้โครงการนี้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ของชาวจังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป

โดย นายจาตุรนต์ โรจน์หิรัญ หน.กลุ่มงานพัฒนาพื้นที่ตลิ่งริมน้ำและริมทะเลทั่วประเทศ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้กล่าว จากการที่ได้สำรวจพื้นที่ ทางกรมโยธาฯ ก็ได้เห็นปัญหาของพี่น้องประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนตลอดแนวฝั่ง โดยจะนำความเดือดร้อนเหล่านี้ ไปดำเนินการออกแบบเพื่อของงบประมาณในการสร้างเขื่อนน้ำกัดเซาะแนวชายฝั่งของจังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป ทางด้าน นายฉัตรชัย เวชสาร เจ้าท่าภูมิภาคจังหวัดสมุทรปราการ ได้กล่าว วันนี้ตนได้มีโอกาสลงพื้นที่ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ทางเจ้าท่า ก็พร้อมที่จะสนับสนุนในการดำเนินงานต่างๆ ด้วยความยินดี โดยกำนันตึ๊ง ไพบูลย์ พินเที่ยง นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จ.สมุทรปราการ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ได้กล่าวขอบคุณแทนพี่น้องประชาชน ที่นายชนม์สวัสดิ์ และ ส.ส.ดร.ยงยุทธ ที่มองเห็นความสำคัญของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสมุทรปราการ ที่ลงสำรวจพื้นที่แนวชายฝั่งปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงคลองด่าน ในครั้งนี้ โดยตนเชื่อว่าปัญหาน้ำกัดเซาะจะเบาบางลง โดยมีการแก้ไขอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ระบบนิเวศก็จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ อีกด้วย

ส.ส.ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร กล่าวเพิ่มเติม หากทั้ง 3 ระยะจบ ก็จะข้ามไปฝั่งตะวันตกที่จะออกแบบสำรวจ โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ ที่จะต้องพึ่งท้องถิ่น โดยหอการค้าฯ โดย อบจ.สมุทรปราการ ที่จะต้องไปประชาคมกับชาวบ้าน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ ที่เราจะต้องทำชายฝั่งเฉพาะเท่านั้น ถ้าเราลงไปทำตามแนวเขตที่ดินที่ชาวบ้านมีอยู่ในโฉนดจริงซึ่งมันอยู่ในทะเล มันจะทำให้ไปขัดกับกฎหมายหลายฉบับซึ่งทำยากและต้องไปทำ EEA จึงต้องเรียนกับประชาชน ฝั่งด้านตะวันตก พระสมุทรเจดีย์ ขุนสมุทรจีน แหลมฟ้าฝ่า จนถึงบางขุนเทียน เฉพาะเขตพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ จะต้องพึ่ง ท้องถิ่น และ อบจ.สมุทรปราการ ในการที่จะไปตกลงกับเจ้าของพื้นที่จริง ซึ่งน้ำจะไปจ่อตลิ่ง เราจะเดินแนวเขื่อนตามแบบตะวันออกตามแนวตลิ่ง เท่านั้น เราจะไม่ไปแตะในร่องน้ำจนผ่านขุนสมุทรจีน นี้ก็คือระยะต่อไปโดยจะต้องทำฝั่งตะวันออกให้จบ เพราะฝั่งตะวันตกเป็นร่องน้ำลึกมากและโดนกัดเซาะมากกว่าฝั่งตะวันออก

โดยในนามหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรามองถึงมิติในเรื่องของน้ำกัดเซาะ ถ้าเราไม่ทำวันนี้แผ่นดินสองฝั่งของปากอ่าวไทยของจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งหมดจะหายไปเลื่อยๆ คือมันจะลงทะเล ถ้าเราทำเขื่อนที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้ออกแบบ มันจะได้ประโยชน์หลายอย่าง แผ่นดินก็ไม่หาย ป่าชายเลนก็ไม่หาย และเรายังได้แผ่นดินเกิดงอกขึ้นมาอีก นอกเขื่อน ที่ที่เราจะปลูกป่าโกงกางเทียม เสริมขึ้นมาเหมือนแนวบางปู ถ้าประชาชนไม่อยากเสียไปกว่านี้แล้วเราต้องเริ่มต้นใหม่ หากถ้าเราเริ่มต้นช้าไปกว่านี้ คนที่มีพื้นที่ติดทะเล ทั้งฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก จะไม่เหลืออะไรเลย โดยเขื่อนดังกล่าว จะไม่ทำรายสิ่งแวดล้อมซึ่งเราทำสำเร็จมันจะกลายเป็นสมุทรปราการโมเดล

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*