สังคมท้องถิ่น

กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และ เรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ ลงน้ำ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด

%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2

กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และ เรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ ลงน้ำ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ

เมื่อเวลา 14.30 o.วันที่ 31 ก.ค.63 ที่อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และเรือ ต.115 จำนวน 2 ลำ ลงน้ำ โดยมีนาวาเอกหญิง อุบลวรรณ รุดดิษฐ์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในฐานะภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ในครั้งนี้

ทั้งนี้ กองทัพเรือมีความต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ จากอู่เรือภายในประเทศโดยใช้แบบ เรือ ต.111 เป็นแบบพื้นฐานสำหรับการจัดหา โดยปรับปรุงหรือพัฒนาระบบและส่วนประกอบให้สามารถรองรับความต้องการใช้งานทางด้านยุทธการที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้มีขีดความสามารถในการถวายความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ การลาดตระเวนตรวจการณ์ การคุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า การป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล การรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ การบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชนในทะเลและชายฝั่ง โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปีงบประมาณ 2561 – 2563 โดยได้ว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด มหาชน เป็นผู้ดำเนินการ นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.114 และ เรือ ต.115 จะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ต่อไป

สำหรับพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำ แบบสากล ให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธี โดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ การนี้ สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีได้รับบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวง เสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดย กรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1) ซึ่งมี คุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2500

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*