สังคมท้องถิ่น

หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ เดินหน้าบูรณาการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ฉีดพ่นละอองน้ำ ลดค่าปริมาณฝุ่นละออง หรือ PM 2.5

%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3-2

หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ เดินหน้าบูรณาการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ฉีดพ่นละอองน้ำ ลดค่าปริมาณฝุ่นละออง หรือ PM 2.5 ในเขตพื้นที่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

วันที่ 16 มกราคม 2564 เวลา 13.00 น. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ มอบหมายให้ นายสมลักษณ์ ควรสงวน (อดีตรองนายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ) พร้อมทีมงาน และรถโมบายติดตั้งเครื่องขยายเสียง ลงพื้นที่ทำงาน ร่วมกับงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบจ.สมุทรปราการ นำรถบรรทุก 6 ล้อ ฟูโซ่ 240 แรงม้า ฉีดพ่นละอองน้ำลดค่าปริมาณฝุ่นละออง หรือ PM 2.5 โดยน้ำที่ใช้ฉีดพ่นยังได้ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสลงไปด้วย ทั้งนี้ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสมุทรปราการ จะได้ประโยชน์ 2 ด้าน คือลดค่าปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส โควิด-19 ภายใต้แผนบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเน้นให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง หอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดปัจจัยเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และการเจ็บป่วยด้วยโรคจากสิ่งแวดล้อมลดลง

จากการรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย โดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ประจำวันที่ 16 มกราคม 2564 จังหวัดสมุทรปราการ บริเวณ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 94 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังพบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มีค่า 125 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมี เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผ่านเครื่องขยายเสียง เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ใช้รถสัญจรผ่านไปมา เนื่องจากมีความจำเป็นในการฉีดพ่นละอองน้ำ ต้องรักษาระดับความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้ละอองน้ำฟุ้งกระจายไปในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกประเภท หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง พร้อมทั้ง รณรงค์ให้ประชาชน พร้อมใจกันสวมหน้ากากอนามัย 100% เมื่อออกจากบ้านทุกครั้ง, หมั่นล้างมือบ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะ เช่น ตู้กดเงินสด, รับ-ส่ง ธนบัตร ควรล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ลเจล หลีกเลี่ยงการสังสรรค์ เว้นระห่างทางสังคมที่ถูกต้อง และงดเว้นการเดินทางออกนอกพื้นที่

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*