สังคมท้องถิ่น

“เขตสุขภาพที่ 6 ขับเคลื่อนนโยบายผู้ป่วยโรคมะเร็งไปที่ไหนก็ได้ที่พร้อม”

%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-6-%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ณ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จังหวัดชลบุรี สปสช.เขต 6 ระยอง จัดการประชุมเรื่อง “การดำเนินงาน Cancer Anywhere เขตสุขภาพที่ 6” ตามนโยบายโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม” มี นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. นพ.ธนิศ เสริมแก้ว สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่6 กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี นพ.พีระมน นิงสานนท์ ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 6 ระยอง ร่วมเปิดงาน “นโยบายโรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ทุกที่ ที่พร้อม (Cancer Anywhere)และการยกระดับการรักษาด้วยบัตรทอง”

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของนโยบายมะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ ทุกที่ ที่พร้อม (Cancer Anywhere) เริ่มดำเนินการเมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง เพื่อให้คนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและลดภาวะล้มละลายของครัวเรือน จากค่ารักษาพยาบาลที่เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบริการ “โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม” เริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับรองมาตรฐานร่วมขับเคลื่อนนโยบายนี้

“จากที่ได้คุยกับผู้ป่วยที่มารับบริการมีความพึ่งพอใจและบอกว่าดีมาก คุณภาพที่ได้รับเหมือนคนไข้พิเศษ ส่วนค่าใช้จ่ายทางสปสช.เป็นคนจ่ายให้ ซึ่งการที่เขตสุขภาพ 6 ทำนั้นเป็นตัวอย่างที่ดี ต่อไปจะมีความเชื่อมโยงมากขึ้นและมีความชัดเจนเรื่องการจัดระบบดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเร็ว แล้วรักษาผู้ป่วยได้เร็วด้วย คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น ที่ผ่านมาเราเคยเห็นคนไข้ได้รับการวินิจฉัยเร็วแต่รักษาช้า เพราะต้องรอคิวนานจนคนไข้มีอาการรุนแรงขึ้นและตามมาด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก” เลขาธิการ สปสช.กล่าวและสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย พบว่ามี ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ปีละ 122,757 ราย และเสียชีวิตปีละ 80,665 ราย
นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กล่าวว่า มีผู้ป่วยฉายแสงในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 2,000-3,000 ราย ต่อปีโรงพยาบาลชลบุรี มีเครื่องฉายแสงเพียง 3 เครื่อง สามารถฉายได้เครื่องละ 600 คนทำให้คนไข้ได้ใช้บริการเพียง 1,800 คน ยังขาดอีก 1,200 ราย ซึ่งแต่เดิม คนไข้ต้องเดินทางไปใช้ฉายรังสีที่กรุงเทพฯ และโรงพยาบาลอื่นๆ ทำให้คนไข้เข้าถึงการรักษาล่าช้าภายหลังมีการทำ MOU กับโรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร จ.ชลบุรี ส่งผลให้คนไข้มะเร็ง เข้าถึงบริการได้เร็ว ลดระยะเวลารอคอยตามปกติไม่ควรเกิน 6 สัปดาห์ จากเดิมต้องรอคอย 8 สัปดาห์ เมื่อ MOU ร่วมกัน ส่งผลให้ลดระยะเวลา รอคอยเหลือเพียง 4สัปดาห์

สามารถระบายคนไข้ที่ฉายแสงไม่ทันเวลาส่งมาที่ รพ.วิภาราม อมตะนครได้
ในช่วงบ่าย เดินทางไปเยี่ยมชม รพ.เฉพาะมสงโรคมะเร็งวิภาราม อมตะนคร ที่เป็นรพ.เอกชนเข้าร่วมโครงการฯ มี นพ.ธนู ลอบันดิส ผู้อำนวยการ รพ.วิภาราม อมตะนครและ นพ.ฐาปนา ตั้งชีวินศิริกุล ผอ.รพ.เฉาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร ให้การต้อนรับและกล่าวสรุป นพ.ธนู ลอบันดิส ผู้อำนวยการ รพ.วิภารามกล่าวว่า โรงพยาบาลเปิดให้บริการตั้งแต่เมษา 2563 และผ่านการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่รับส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งจากสปสช.เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งผลการดำเนินงานโรงพยาบาลร่วมดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในเขตสุขภาพที่ 6 ตามมาตรฐานและมีคุณภาพสนับสนุนเครือข่ายบริการดูและระบบส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดระยะเวลารอคอยในการเข้ารับบริการรักษาของป่วยมะเร็งในระยะเวลาที่กำหนดตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของ Service Plan โรคมะเร็งของเขตสุขภาพที่ 6 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยผ่าตัดภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ 100% และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ 100% และผู้ป่วยที่รับมารักษาโดยการใช้รังสีภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ 100% ทำให้คนไข้เข้ารับการรักษาเร็วขึ้น

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*