สังคมท้องถิ่น

กฟผ. และภาคีเครือข่าย ผลักดันโครงการ Move World Together อย่างต่อเนื่อง

%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%9c-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%9c%e0%b8%a5

กฟผ. และภาคีเครือข่าย ผลักดันโครงการ Move World Together อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดยกระดับผลงานเยาวชนสู่เชิงพาณิชย์แล้ว

กฟผ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนโครงการ Move World Together : เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องสู่ปีที่ 9 เปิดนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมของเยาวชน 40 กลุ่ม ภายในงาน “National Youth’s Innovation Fair 2020” และมอบรางวัลเกียรติยศ เป็นกำลังใจแก่เยาวชน ครู และผู้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงาน มุ่งสร้างเยาวชนพันธุ์ใหม่ให้เป็น “คนดี” และ “คนเก่ง” มีส่วนร่วมแก้ปัญหาทางสังคมด้วยแนวคิดเชิงนวัตกรรม โดยล่าสุดได้ยกระดับผลงานของเยาวชนไปสู่เชิงพาณิชย์แล้ว

วานนี้ (21 ธันวาคม 2563) นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โครงการ Move World Together : เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่ กฟผ. มุ่งมั่นที่จะสร้างเยาวชนคนพันธุ์ใหม่ให้มีความคิดนอกกรอบสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีสำนึกในหน้าที่ของเยาวชนต่อชาติบ้านเมือง โดย กฟผ. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาคี ทั้งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมพัฒนาอัจฉริยภาพและศักยภาพมนุษย์ ซึ่งได้นำความเชี่ยวชาญของแต่ละองค์กร มาร่วมกันออกแบบโครงการให้มีลักษณะในการสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน มีเยาวชนและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 3,000 คน และมีผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เกิดจากโครงงานของเยาวชนที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรแล้วทั้งสิ้น จำนวน 17 ผลงาน ซึ่งล้วนสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงในเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ อีกด้วย

สำหรับในปีนี้ โครงการ Move World Together ดำเนินการมาครบ 9 ปี โดยได้เปิดนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมของเยาวชน ปีที่ 8 ภายในงาน “National Youth’s Innovation Fair 2020” ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สวทช.) เพื่อแสดงผลงานของเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น 40 กลุ่ม ซึ่งมีผลงานที่มีความโดดเด่นจำนวนมาก อาทิ ผลงาน “ปะการังเทียมจากเปลือกปูเปลือกหอยทะเล” จากโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จ.ตรัง ที่เยาวชนได้จัดทำ “ซั้งกอ” อุปกรณ์พื้นบ้านสำหรับรวบรวมสัตว์ร่วมกับปะการังเทียมให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก เพื่อลดปัญหาขยะจากเปลือกหอยและกลิ่นเหม็นในพื้นที่ชุมชน ผลงาน “การฟื้นฟูดนตรีมังคละบน Digital platform” จากโรงเรียนพิชัย จ.อุตรดิตถ์ ที่เยาวชนได้อนุรักษ์ดนตรีมังคละไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผ่านช่องทาง Digital platform เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมถึงยังได้มีการยกระดับ ผลงาน “แผ่นเช็ดระงับกลิ่นกายจากสารสกัดใบฝรั่ง” จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold prize) จากคณะกรรมการผู้จัดงาน และรางวัล Special Award จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) ประเทศอินโดนีเซีย จากเวทีการประกวด Seoul International Invention Fair (SIIF 2019) เมื่อระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ และเตรียมจัดตั้งเป็นบริษัทสำหรับผลิตและจำหน่ายภายในเร็ว ๆ นี้

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีพิธีมอบรางวัลเกียรติยศ ประจำปี 2563 ให้แก่กลุ่มเยาวชนภายใต้โครงการ Move World Together ปีที่ 8 ที่มีผลงานโดดเด่น น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบ รวมถึงมีการมอบโล่รางวัลให้กับครูที่ปรึกษาเยาวชน และผู้เชี่ยวชาญที่ให้การสนับสนุนโครงการจนประสบความสำเร็จ โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกจาก 5 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) วิทยาลัยโลกคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวทช. และ กฟผ. ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ Facebook Move World Together เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือ https://www.facebook.com/moveworldtogether

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*