สังคมท้องถิ่น

พิราบน้อย  NODE  NEWs  **(Node หมายถึง หน่วยจัดการของ สสส.)

%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2-node-news-node-%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%96%e0%b8%b6%e0%b8%87-%e0%b8%ab%e0%b8%99

Node เยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ สมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดสมุทรปราการ  และอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ จัดกิจกรรม ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้เยาวชนเรียนรู้การเป็นนักสื่อสารสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพสู่สังคม

อาจารย์นิคม แสงบุญเรือง อดีตผู้เรียบเรียงข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ บรรยายให้ความรู้พัฒนาการของสื่อยุคอนาล็อก ถึงยุคดิจิทัล ที่ทุกคนสามารถเป็นนักสื่อสารได้ด้วยตนเองและเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจับประเด็นจากโครงการสร้างสรรค์ของน้องๆเยาวชนที่ดำเนินงานภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของ Node เยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 25โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 6อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ มาสื่อสารผ่านโซเชี่ยลมีเดีย โดยฝึกการเลือกประเด็น และสร้างสรรค์ประเด็น เช่น โครงการขยะรีไซเคิล ของโรงเรียนป้อมพระจุลจอมเกล้า พัฒนาผลการดำเนินงานของโครงการเป็นประเด็นเนื้อหาให้น่าสนใจมากขึ้น เปลี่ยนขยะเปลี่ยนเป็นทรัพยากร เปลี่ยนสิ่งของไร้ค่าเป็นเงินทอง โครงการ Music DIY Your style Your song. ของ KPN. เป็นโครงการของเยาวชนที่น่าสนใจมากอาจจะนำเสนอมากกว่าเนื้อหาข่าวในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งควรมีกิจกรรมออนไซต์ในโอกาสที่เหมาะสม หรือโครงการ W-STK E-Sport โรงเรียนวัดบางเสาธง ที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้ ภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนจากเกม และการยกระดับเป็นอาชีพ การส่งเสริมเนื้อหาเพื่อสื่อสารที่ต้องเพิ่มเติมประเด็นทางวิชาการ และการตลาด เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรมีโครงการพัฒนาศักยภาพด้านสื่อในเยาวชนและพี่เลี้ยงเยาวชนให้ได้รับการฝึกอบรมให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อนำผลงานของน้องที่ลงมือทำไปแล้วมาสื่อสารให้เกิดการเรียนรู้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ และส่งต่อเรื่องราวดีๆสู่สังคมในวงกว้าง

อาจารย์เบญริสา ตันเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ กล่าวถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ มุ่งเน้นการให้พื้นฐานและฝึกปฏิบัติ ในรูปแบบ WORK SHOP สร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์ ในแพลทฟอร์ม Facebook Fan Page และ Tik tok โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะแกนนำเด็ก เยาวชน และพี่เลี้ยงให้มีทักษะจับประเด็น การผลิตสื่อออนไลน์ และนำเสนอได้ โดย ให้แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติและนำผลงานมานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งได้มาทั้ง 7 คลิป โดยไม่ได้มุ่งเน้นคุณภาพ แต่ให้ความสำคัญที่ ความรู้ ความเข้าใจ การสร้างสรรค์ชิ้นงานอย่างมีส่วนร่วม และที่ขาดไม่ได้ คือ การให้ความมรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งพบว่า ระหว่างการอบรม นั่งลบข้อมูลในออนไลน์กันเยอะมาก นับว่า ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันสุขภาวะทางปัญญาในการใช้สื่อ

นายคเณศ กมลพันธ์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดสมุทรปราการ และที่ปรึกษาโครงการ กล่าวถึง กิจกรรมการสร้างต้นกล้านักสื่อสารสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนทำสื่อในทางที่ถูกต้อง และนำบทเรียนดีๆที่ได้จากโครงการของน้องเยาวชนมาสื่อสารเผยแพร่ให้เกิดการขยายผลในวงกว้างได้ ทุกคนที่เข้าอบรมต้องทำคลิป 1 กลุ่ม 1 คลิป มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นอกจากนี้ สมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดสมุทรปราการ ยังเปิดให้ลงทะเบียนสมัครสมาชิก  “นักข่าว ประเภทวิสามัญ”  ฟรี  ไม่มีค่าธรรมเนียมจากสมาคมฯ  เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนส่งข่าวสารด้านสุขภาพให้ท้องถิ่น ท้องที่ และมีรายได้เสริมจากการทำงานเสริมได้อีกด้วย โดยหลังจบกิจกรรม มีเยาวชนสนใจสมัคร จำนวน 12 คน ซึ่งสมาคมฯและหน่วยจัดการฯได้ดำเนินงานคัดกรองและส่งเสริมสนับสนุนต่อไป

นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ผู้จัดการหน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการ

โทร .086 369 5941 Email : [email protected]

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*