ข่าวประชาสัมพันธ์

คณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการ ฝ่ายจัดงานสารทเดือนสิบ ร่วมประชุมเตรียมจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1

คณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการ ฝ่ายจัดงานสารทเดือนสิบ ร่วมประชุมเตรียมจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 ณ วัดบางนางเกรง

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 17 ก.ค. 65 ที่ศาลาไอ้ไข่ ด้านหลังองค์หลวงปู่ทวด วัดบางนางเกรง ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ คณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการ ฝ่ายจัดงานสารทเดือนสิบ ร่วมประชุมเตรียมจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2565 ณ วัดบางนางเกรง โดยมีนายจีรพงค์ (ติ่ง) ปานแย้ม ประธานจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ นายกำพล สุจริตธุรการ รองประธานฯ, นายอัมพร เส็นขาว เลขานุการฯ, นายวิรัตน์ แป้นแก้ว ประธานที่ปรึกษาฯ พร้อมด้วย คณะที่ปรึกษาฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ อาทิ เช่น นาวาโทสุเทพ วงศ์สุนทร, นายไพรัตน์ จันทร์ไชยแก้ว, นายอริยะ ปิยจันทร์, นายธนกฤต เลิศไกรธนาภา, นางสุภาพ คงเอียด, นายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน ตลอดจน นายเกรียงศักดิ์ ธรรมวิจิตร (ฝ่ายบันเทิง) นายปราโมทย์ นุ่นเซ่ง (ฝ่ายศาสนาพิธี) นายสมยศ เต็มนา (ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ) นายสิทธิรัตน์ ดำแก้ว นายกิตติธัช อินทรัตน์ (เหรัญญิก) ร.ต.อ.อดุลย์ รุ่งเรือง นายอรุณ บุญเพ็ชรทอง (ฝ่ายรักษาความปลอดภัย) และคณะทำงาน กลุ่มพี่น้องชาวใต้สมุทรปราการ เข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง

โดยที่ประชุมได้กำหนด ธีม งานแบบสไตล์งานวัด มีการจัดหมฺรับ และยกหมฺรับ การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล มีการออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP และอาหารพื้นเมือง ของกลุ่มพี่น้องชาวใต้สมุทรปราการ โดยวันที่ 16 กันยายน 2565 พบกับ หนังตะลุงชื่อดังน้องเดียว ลูกทุ่งวัฒนธรรม วันที่ 17 กันยายน 2565 รำวงเวียนครก โดยวงชาวาลา จากนครศรีธรรมราช และวันที่ 18 กันยายน 2565 จะมีพิธีทางศาสนา ชิงเปรต สำหรับ วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลานจึงทำบุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้เชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว อีกทั้ง เพื่อให้ญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ เพื่อทำให้ทางวัดได้เก็บรักษาหมรับเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน และเพื่อสืบสานประเพณี วัฒนธรรมที่ประชาชนชาวใต้ร่วมทำกันมา ให้ดำรงอยู่ต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*