สังคมท้องถิ่น

คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ จัดขบวนแห่หมุรับงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2-%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3

คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ จัดขบวนแห่หมุรับงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565จากหน้าโรงเรียนนายเรือ สู่วัดบางนางเกรง

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 ที่บริเวณหน้าโรงเรียนนายเรือ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ นายจีรพงค์ (ติ่ง) ปานแย้ม ประธานจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2565 พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ อาทิ เช่น นาวาโทสุเทพ วงศ์สุนทร ร.ต.อ.อดุลย์ รุ่งเรือง ผู้ใหญ่สมเกรียติ ทองเหลือ สท.ถนอมศรี ทางเหลือ สท.วันเพ็ญ สุขสมบุญ ผู้ใหญ่อรุณ บุญเพชรทอง นายสมยศ เต็มนา จัดขบวนแห่รถหมฺรับงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 กันอย่างสวยงาม จากหน้าโรงเรียนนายเรือ สู่วัดบางนางเกรง ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ตลอดจนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ซึ่งการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว การจัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะ เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลา กลับไปใช้กรรมตามเดิม

ฉะนั้น บรรดาลูกหลาน ก็จะต้องจัดเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่อง แล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดา ด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุด ให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู ช่องของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับอนุญาต ให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำรับ อาหารคาวหวาน ไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย” โดยเริ่มจากการยกหมฺรับชาวบ้านจะจำหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด โดยเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม วันนี้เรียกว่า “วันยกหมฺรับ” การยกหมฺรับไปวัดเป็นขบวนแห่ หรือไม่มีขบวนแห่ก็ได้

โดยนำหมฺรับและภัตตาหารไปถวายพระด้วย จากนั้นเป็นการฉลองหมฺรับและการบังสุกุล ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า “วันหลองหมฺรับ” มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสุุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษ และญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้กระทำพิธีกรรมในวันนี้่ บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เิกิดทุขเวทนาด้วยความอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป สำหรับ ขบวนแห่รถหมฺรับในปีนี้นอกจากมีคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 แล้ว ยังมีลุ่มรักหมู่ 6 ท้ายบ้านใหม่ กลุ่มให้บางแก้ว ทีมงานบ้านเฉาก๊วยบุญอนันต์ ชาวชุนชนหมู่ 4 ชุมชนหมู่ 8 ตำบลบางเมืองใหม่ และกลุ่มพี่น้องชาวใต้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และใกล้เคียง เข้าร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*