สังคมท้องถิ่น

พิธีฉลองหมฺรับทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุล เพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%ba%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 ที่ศาลาริมน้ำ วัดบางนางเกรง ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ นายจีรพงค์ (ติ่ง) ปานแย้ม ประธานจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2565 เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีฉลองหมฺรับ ทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุล เพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ภายในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 โดยมี พระครูวินัยธรไมตรี ฐตเปโม เจ้าอาวาสวัดบางนางเกรง และพระภิกษุสงฆ์ วัดบางนางเกรง จำนวน 16 รูป เจริญพระพุทธมนต์ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแสดงธรรมเทศสนา โดยพระครูโสภิตสุวาที เลขานุการเจ้าคณะอำเภอทุ่งสง วัดเขาปรีดี จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระปลัด จารุ จารุธัมโม แห่งวัดบางนางเกรง โดยมี ผู้ใหญ่สมเกรียติ ทองเหลือ ผู้ใหญ่อรุณ บุญเพชรทอง เป็นประธานจุดเทียน หน้าธรรมาสน์ ตลอดจนพิธีชิงเปรต และการแสดงมโนราห์ โดยมี คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่ายจัดงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ชาวใต้สมุทรปราการ ประจำปี 2565 กลุ่มรักหมู่ 6 ท้ายบ้านใหม่ กลุ่มให้บางแก้ว ทีมงานบ้านเฉาก๊วยบุญอนันต์ และกลุ่มพี่น้องชาวใต้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และใกล้เคียง เข้าร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก

ซึ่ง เป็นการทำบุญที่แสดงถึง ความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอุทิศส่วนกุศล ไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ เป็นคติของศาสนาพราหมณ์ ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน นิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตน เพื่อร่วมพิธีตั้งเปรต และชิงเปรต อาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่ง ฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง จึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิด ได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์ และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น

สำหรับประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือวัน “ส่งเปรต” กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนยืนยันว่า การชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญ เพราะเชื่อกันว่าหากลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้น

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*