อาชญากรรม

ศรีสุวรรณนำเจ้าของช่อง “บ่าวเป้แดนสตอ” ร้อง สคบ.สอบเพจรับรองพระเครื่องลวงโลก

%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87

วันนี้ 24 ก.พ.66 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน สคบ.ศูนย์ราชการฯ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำตัวนายสุธรรม ศรีเพชร เจ้าของช่องบ่าวเป้แดนสตอ ที่ออกรายการทางช่อง YouTube เดินทางมาร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) บริเวณอาคาร B ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ เพื่อตรวจสอบเพจเช่าพระเครื่องและรับรองพระเครื่องซึ่งเข้าข่ายละเมิดสิทธิประชาชนและหลอกลวงผู้บริโภค โดยมีนายอุฬาร จิ๋วเจริญ ร้องเลขาธิการคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคมารับเรื่องด้วยตัวเอง

ทั้งนี้เนื่องจากมีประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย จากการประกอบธุรกิจการค้าเกี่ยวกับการให้เช่าพระเครื่อง และตรวจสอบการให้ใบรับรองพระเครื่องในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีการเปิดเพจในเฟซบุ๊กรับตรวจสอบพระเครื่องด้วยวิธีการทางกายภาพ ด้วยการใช้กล้องขยายส่องขยายดูเนื้อมวลสารขนาด 1000 เท่าเท่านั้น โดยไม่มีการตรวจสอบทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือทางวิทยาศาสตร์เคมี ฟิสิกส์แต่อย่างใด แต่กลับมีการออกใบรับรองและเรียกค่าบริการในราคาที่สูงเกินสมควร

การประกอบธุรกิจดังกล่าวมีการเปิดบัญชีธนาคาร เป็นบัญชีออมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมทางการเงิน รับโอนเงินค่าตรวจสอบพระเครื่องจากผู้ที่สนใจโดยการนำพระมาให้ตรวจสอบด้วยตนเอง หรือการการส่งพระเครื่องมาให้ตรวจสอบทางพัสดุไปรษณีย์ เมื่อตรวจสอบทางกายภาพเสร็จก็จะออกใบรับรองให้ต่อไป ซึ่งการออกใบรับรองดังกล่าวไม่มีหลักเกณฑ์ หรือสถาบันใด ๆ ของทางราชการหรือเอกชนใด ๆ รับรองหรือรองรับ หากประชาชนผู้รับบริการจะยกเลิกหรือขอคืนเงินก็ไม่สามารถทำได้

นอกจากนั้น เมื่อตรวจสอบต่อไปพบว่าไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลกับสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือมีสถาบันที่น่าเชื่อถือรับรองผลการตรวจสอบและรับรองแต่อย่างใด ซึ่งมีประชาชนหลายรายหลงไปใช้บริการจะพบว่า มีการตรวจสอบพระเครื่องโดยไม่มีมาตรฐานแต่อย่างใด เมื่อสอบถามมาก ๆ ก็จะถูกโวยวายและด่าทอกลับ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการหลอกลวงประชาชน อันถือเป็นการละเมิสิทธิผู้บริโภคโดยชัดแจ้ง
การทำธุรกิจในลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ และเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะต้องดำเนินการเอาผิดตามครรลองของกฎหมายได้ โดยเฉพาะการใช้อำนาจตาม ม.39 และ ม.39/1 ประกอบ ม.10(7) แห่ง พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคดังกล่าวได้

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงนำชาวบ้านผู้เดือดร้อนพร้อมพยานหลักฐานมาร้องเรียนต่อ สคบ.ให้ดำเนินการผู้ประกอบการดังกล่าวโดยเด็ดขาดต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*