กฎหมายน่ารู้

กล้องบันทึกการจับกุม คุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชน

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a1-%e0%b8%84%e0%b8%b8

สืบเนื่องจากกรณี ”ตำรวจทางหลวง” ถูกคนร้ายขับรถหลบหนี แล้วหักหัวรถตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงซึ่งกำลังขับขี่รถเปิดไซเรนไล่ติดตามคนร้ายที่กำลังเร่งเคลื่อนหลบหนีด้วยความเร็ว จนเป็นเหตุให้ตำรวจทางหลวงนำ้ดีต้องประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที กรณีนี้จะเป็นตัวอย่าง อันดีที่แสดงให้เห็นว่าในขณะปฎิบัติหน้าที่ ตำรวทางหลวงท่านนี้ได้ติดกล้องที่บันทึกภาพและเสียงตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด จึงทำให้เราเห็นว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ทั้งก่อนเกิดเหตุ, ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ

จาก “ภาพและเสียง” ที่บันทึกได้จากกล้องติดหมวกของตำรวจทางหลวง จึงเป็น ”พยานหลักฐานสำคัญ” ในการ “จับกุม” คนร้ายผู้ก่อเหตุ อันนำไปสู่การแจ้งข้อหาและการไม่อนุญาตจากศาลให้มีการปล่อยตัวผู้ก่อเหตุ ในครั้งนี้

สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปถ้า……. “ไม่มี” กล้องติดหมวกที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตำรวจทางหลวง ได้เข้าไปสอบถามถึงสาเหตุการจอดรถริมทางหลวงสายมอเตอร์เวย์ ซึ่งห้ามจอด จนกระทั่งไปพบเห็น ”สภาพ” คนขับรถ และ ”ขวดเบียร์” บนเบาะที่นั่งรถ และบุหรี่ไฟฟ้า และอาจ “ไม่เห็น” พฤติการณ์ของคนร้ายที่เจตนา จงใจที่จะหักหัวรถมาทางด้านซ้ายในลักษณะตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงเปิดไซเรนไล่ติดตามด้วยความเร็ว แม้ว่า… จะปฏิเสธว่า…….ก็ตาม

การที ตนเองขับรถออกไปจากที่เกิดเหตุทั้งทั้งที่ ตำรวจทางหลวง เรียกตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอลล์ (จากภาพและเสียงที่ปรากฎ) และความเร็วรถที่คนร้ายขับหลบหนี การขับรถแซงไปทางด้านซ้ายและด้านขวา แซงรถรถยนต์คันอื่นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เสียงรถจักรยานยนต์และเสียงไซเรนของตำรวจทางหลวงไล่ติดตาม จึงยากที่จะปฏิเสธว่า ตนไม่ได้หลบหนี และการที่หักหัวรถมาทางด้านซ้ายในลักษณะตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงกำลังไล่ติดตามจับกุม ย่อม “เล็งเห็นผล” (ซึ่งถือว่าเป็นเจตนาทางกฎหมาย) ได้อยุู่แล้วว่า

เมื่อรถของตนเองตัดขวางรถจักรยานยนต์คันที่ตำรวจทางหลวงไล่ติดตามด้วยความเร็ว รถทั้งสองคันย่อมพุ่งเข้าชนกัน และเมื่อรถยนต์ กับ รถจักรยานยนต์ ​(เนื้อหุ้มเหล็ก ผลย่อมเป็นเช่นใด ย่อม ”คาดหมาย”) ได้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อาจถึงตายได้ และเมื่อตำรวจทางหลวงผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไล่ติดตามถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุทันที จึงยากที่ปฏิเสธว่า ตนเอง ”มิได้มีเจตนาฆ่า” ได้

“กล้องติดหมวก” ซึ่งสามารถ “บันทึกได้ทั้งภาพและเสียง” จึงเป็น “พระเอก” และเป็น “พยานหลักฐานสำคัญ” ในอันที่จะคุ้มครองทั้ง “เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม” ดังเช่นคดีนี้ และเป็น “พยานหลักฐานสำคัญในการคุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือยัดข้อหา” เพื่อ “ประชา” และ “เจ้าหน้าที่รัฐ” อุ่นใจ ถ้า “ไม่มี” ภาพที่บันทึกได้จากกล้องติดหมวกของตำรวจทางหลวง (แม้จะมีภาพที่บันทึกได้จากกล้องหน้ารถคันอื่นก็ตาม แต่จะเห็นแค่ปลายเหตุขณะเฉี่ยวชน) เหตุการณ์ก็อาจเป็นเรื่อง “อุบัติเหตุ” รถยนต์และรถจักรยานยนต์ของตำรวจทางหลวง ขณะปฏิบัติหน้าที่เชี่ยวชนกับรถยนต์บนถนนสายมอเตอร์เวย์จนตำรวจทางหลวงเสียชีวิต ก็ได้

คงถึงเวลาแล้วที่ ……
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ผู้ใช้อำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลจะต้องมีการ “บันทึกภาพและเสียง” การจับกุม หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ต้องถูกร้องเรียนจากการปฏิบัติหน้าที่

บัดนี้…..พ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ก็มีผลใช้บังคับแล้ว แล้วเหตุใดจึงออก พ.ร.กแก้ไขเพิ่มเติมฯ มาเลื่อนการบังคับใช้ มาตรา 22, 23,24,25 ซึ่งเป็นเรื่อง “ในการควบคุมตัว เจาหน้าที่ของรัฐต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม” และในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องบันทึกข้อมูลเกียวกับผู้ถูกควบคุมตัว ฯ โดยเหตุผลตามหมายเหตุท้าย พ.ร.ก. คือ ความไม่พร้อมของหน่วยงาน เมื่อเทียบสัดส่วน “ความไม่พร้อม” กับ “การปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการคุ้มครองจากการปฏิบัติหน้าที่” ท่านคิดว่า….อะไรจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ
รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (คนที่สอง) ในคณะกรรมาธิการ การกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*