ท้องถิ่น, สังคมท้องถิ่น, อาชญากรรม

ชาวบ้านสุดทน!! รวมตัวประท้วงสถานที่ทำปลาหมึกสด ส่งกลิ่นเหม็นปล่อยน้ำเน่าเสียลงสู่ลำคลอง

%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%99-%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0

ทีมข่าว 5 อาสาเพื่อประชาชน ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนภายในซอยวัดบางนางเพ็ง ต.บ้านระกาศ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ กรณีที่มีผู้ประกอบการรายหนึ่งเช่าพื้นที่เปิดเป็นสถานประกอบอาหารล้างปลาหมึกสด ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งชุมชน อีกทั้ง ยังปล่อยน้ำเสียที่มาจากการล้างปลาหมึกสดลงสู่แม่น้ำลำคลองสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ รวมถึง ประชาชนพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้รับการร้องเรียน ทีมข่าวตระเวนจึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมด้วย คณะเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต. บางนางเพ็ง และเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 ชลบุรี จากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวที่ได้รับการร้องเรียนนั้น เป็นอาคารปลูกสร้างแบบชั้นเดียว เลขที่ 101/2 บจก. สัมฤทธิ์ภาพ ตั้งอยู่ภายในซอยวัดบางนางเพ็ง ต.บ้านระกาศ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

และจากการสอบถามตัวแทนพี่น้องประชาขนที่ได้รับความเดือดร้อน เปิดเผยว่า สถานที่แห่งนี้ทางผู้ประกอบการได้ขอเช่าพื้นที่เปิดเป็นสถานประกอบอาหารโดยการนำปลาหมึกสดมาล้างทำความสะอาดเพื่อส่งขายไปยังร้านอาหารต่างๆ รวมถึง ส่งขายตามร้านหมูกระทะ แต่เนื่องจากว่าที่ผ่านมาทางสถานประกอบอาหารแห่งนี้ ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่องนานหลายปี เนื่องจาก ปลาหมึกสดที่นำมาล้างนั้นส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งชุมชน พี่น้องประชาชนและผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ ที่ได้สูดดมกลิ่นเข้าไปก็มีอาการมึนหัวและจะอาเจียรออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก นอกจาก ในเรื่องปัญหากลิ่นที่เหม็นเน่าแล้ว ที่ผ่านมายังทราบอีกว่า สถานที่แห่งนี้ยังมีการปล่อยน้ำเสียที่มาจากการล้างปลาหมึกสด ปล่อยไหลลงตามท่อระบายน้ำแล้วไหลลงสู่ลำคลองคือ คลองวัดบางนางเพ็ง ซึ่งคลองดังกล่าวอยู่ห่างจากสถานที่ล้างปลาหมึกไปประมาณ 500 เมตร โดยคลองแห่งนี้ จะมีพี่น้องประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และ อาชีพการเลี้ยงปลา โดยส่วนใหญ่ประชาชนจะสูบน้ำจากลำคลองแห่งนี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

แต่เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี ประชาชนไม่สามารถที่จะนำน้ำภายในลำคลองแห่งนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากว่าบางวันน้ำได้เปลี่ยนสีเป็นสีดำขุ่น ประกอบกับ น้ำมีกลิ่นเหม็น และกลิ่นได้ฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งชุมชน เนื่องจากว่ามีบ้านเรือนประชาชนอยู่ติดกับลำคลองเป็นจำนวนมาก โดยในวันนี้มีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนได้รวมตัวกันประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ให้กับพี่น้องประชาชน และมีประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับสถานประกอบอาหารแห่งนี่ โดยเรียกร้องขอให้ย้ายออกจากชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก โดย ทางตัวแทนชาวบ้านยังกล่าวต่ออีกว่า เนื่องจาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางผู้ประกอบการไม่ได้มีความจริงใจที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ อีกทั้ง ในช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่หัวค่ำไปจนถึงเวลาประมาณ 23 นาฬิกา ยังมีคนงานมาแอบล้างปลาหมึกสด และแอบปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำคลองแห่งนี้ อีกทั้ง ในช่วงเวลากลางวันนั้น บางวันยังพบว่าน้ำในลำคลองเปลี่ยนสีเป็นสีดำขุ่น และมีประชาชนบางรายที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่สามารถทนรับพฤติกรรมของทางผู้ประกอบการรายนี้ จึงได้นำมือถือถ่ายรูปน้ำเอาไว้ขณะที่น้ำไหลออกจากท่อก่อนจะไหลลงสู่ลำคลองเพื่อยืนยันว่าชาวบ้านไม่ได้กล่าวหา หรือใส่ร้ายทางผู้ประกอบการรายนี้แต่อย่างใด และยังพบว่าน้ำนั้นก็มีสีดำและมีกลิ่นเหม็นออกมาจริง นอกจากนี้ ยังมีประชาชนในชุมชนที่ไม่สามารถทนกับสภาพกลิ่นที่เหม็นเน่าได้จึงได้นำถุงพลาสติกมัดรวมกันเป็นก้อนๆ แล้วนำไปอุดตรงปากท่อระบายน้ำตลอดทุกฝาท่อเพื่อป้องกันกลิ่นไม่ให้ลอยขึ้นมาจากท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันบรรเทาปัญหาในเบื้องต้น

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเคยยื่นเรื่องร้องเรียนไปยัง อบต. บางนางเพ็ง ซึ่งตั้งอยู่ด้านในภายในซอยแห่งนี้ โดยทาง อบต. บางนางเพ็ง ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาทำการตรวจสอบและนำน้ำไปตรวจวัด ซึ่งผลออกมาคือน้ำไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด จนถึงขณะนี้ผ่านมาหลายปีปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน โดย ทางด้านนางรุศดา สัมฤทธิ์ภาพ ผู้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ประกอบการ ออกมาชี้แจงว่า ที่ผ่านมาหลังจากที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในชุมชน ตนเองก็ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำของทางเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด และไม่ได้นิ่งเฉยจึงอยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในชุมชนเห็นใจตนเองบ้าง ที่ผ่านมาก็ดำเนินการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียแล้ว และยืนยันว่าไม่ได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำคลองอย่างแน่นอน โดย นางรุศดา สัมฤทธิ์ภาพ ยังกล่าวต่ออีกว่า โดยเธอนั้นอ้างว่าสาเหตุของกลิ่นที่ออกไปรบกวนสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านนั้น คาดว่ามาจากน้ำที่ใช้ชะล้างทำความสะอาดนั้นคงไม่เพียงพอ เนื่องจากที่ผ่านมาทุกๆ ครั้งที่ทำการล้างทำความสะอาดปลาหมึกต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากพอสมควร แต่เนื่องด้วยน้ำจากบ่อปลาด้านหลังที่เคยสูบมาใช้ล้างคาวปลาหมึกนั้น ด้วยระยะหลังซึ่งเป็นหน้าแล้งทำให้น้ำในบ่อปลาแห้งขอดไม่สามารถสูบน้ำจากบ่อมาใช้ได้ ประกอบกับ น้ำประปาไม่แรงพอที่จะผลักดันน้ำคาวปลาหมึกให้เจือจางได้ดีพออาจส่งผลให้เกิดความเข้มข้นของกลิ่นคาวปลาหมึกก็อาจเป็นได้ และในส่วนที่มีประชาชน อ้างว่าตนเองนั้นนำปลาหมึกสดมาล้างทุกวันนั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริงโดยสัปดาห์หนึ่งจะทำการล้างปลาหมึก 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ในปริมาณครั้งละ 300-400 กิโล เพื่อส่งขายตามร้านอาหารต่างๆ และตามร้านหมูกระทะที่สั่งออเดอร์เข้ามา

อย่างไรก็ตาม จะรีบดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนอย่างเร่งด่วน จึงขอให้เห็นใจตนเองบ้างหากจะขอให้หยุดกิจการหรือหยุดการผลิตนั้น อาจส่งผลกระทบตามมาเนื่องจากตนเองมีการลงทุนและอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับทางลูกค้าได้ โดยทางด้าน เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 ชลบุรี กล่าวว่า จากการดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบ ในวันที่ 30 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ได้ทำการตรวจสถานประกอบการทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณแห่งนี่เป็นครั้งแรก และพบว่ามีสถานประกอบการแห่งเดียวที่ไม่ผ่านเกณฑ์คือสถานประกอบการอาหารที่ประกอบการทำปลาหมึกอยู่ขณะนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ส่งเรื่องไปยัง อบต.บางนางเพ็งให้ทราบ จากนั้นทาง อบต. ได้สั่งให้ทางผู้ประกอบการแก้ไขปรับปรุงระบบให้เรียบร้อย และหลังจากที่มีการปรับปรุงระบบแล้วทางเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 ชลบุรี พร้อมด้วยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อมาตรวจซ้ำอีกครั้ง หลังจากที่ทางผู้ประกอบการได้ดำเนินการแก้ไขออกแบบมานั้นว่าค่าน้ำจะผ่านเกณฑ์หรือไม่อย่างใด เนื่องจากสถานประกอบการแห่งนี้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโรงงานเพราะเนื่องจากเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า และมีคนงานไม่เกิน 7 คน เพราะฉะนั้นจะอยู่ใน พรบ.การสาธารณสุขกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็คือ อบต. เป็นเจ้าพนักงานใน พรบ.ดังกล่าวนี้ และทางเจ้าหน้าที่ก็จะส่งผลตรวจให้กับทาง อบต. ดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม และในส่วนเรื่องของสาธารณสุขคงต้องประสานหน่วยงานท้องถิ่นลงมาดูแลแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนต่อไป และในส่วนน้ำที่นำไปตรวจสอบครั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 30 วัน ตามขั้นตอนการตรวจสอบเนื่องจากต้องรับผิดชอบทั้งหมด 6 จังหวัดด้วยกัน ตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการไปจนถึงจังหวัดตราด เพราะเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมค่อนข้างมากทางเจ้าหน้าที่จะรีบดำเนินการตรวจสอบผลให้ออกมาโดยเร็วที่สุด

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*