สังคมท้องถิ่น

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน หน่วยบริการประกันสังคมสร้างสุขภาวะชุมชน จ.สมุทรปราการ

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%8f%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2

วันที่ 5-6 เมษายน 2566 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชชุมชนมุสลิมมลายูบ้านปากลัด ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

นำโดยนายยุคนธร พรมเดช ผู้ประสานงานโครงการบูรณาการองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตในกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป็นการเปิดการเรียนรู้ พร้อมด้วย นายธนพัต ธนัตเจริญ ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ (ภาคประชาชน) และคณะทำงานฯ ทั้ง 2 วัน ที่ผ่านมา เป็นการระดมความคิดเห็น

1) เป็นกิจกรรมเวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานหน่วยบริการชุมชน ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระแดง ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจของบทบาทภารกิจหน่วยบริการชุมชน ที่เน้นความเป็นองค์กรคุณภาพ ใก้บริการกับสมาขิกกลุ่มอาชีพ ในด้านการส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคไม่ต่อเรื้องรังอันเป็นสาเหตุของการเจ็บ การสร้างงานอาชีพเพื่อการมีรายได้ต่อเนื่องสำหรับใข้ในชีวิตประจำวันและการเก็บออม ไว้ในยามวิกฤติ ฉุกเฉินของชีวิต
2) การตั้งเป้าหมายการทำงานของหน่วยบริการชุมฯ ให้เป็นองค์กรขับเคลื่อน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และเขื่อมประสานงานนโยบายของกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) เป้าหมายการรักษาอัตราการคงอยู่ของผู้ประกันตนตามาตรา 40 ร้อยละ 35 ของจำนวนผู้ประกันตนในหน่วยบริการชุมทั้ง 3 อำเภอ จำนวน 4 หน่วย
4) มีแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับ สปส.สาขาบางเสาธง ว่าด้วยหลักสูตรสร้างความตระหนักในกลุ่มอาชีพ สมาชิกหน่วยบริการชุมชน ให้รู้ลึก จริง แจ้ง ในการสร้างหลักประกันชีวิตของตนเอง ได้แก่ประกันสังคมมาตรา 40
5) มีคณะทำงานหน่วยบริการชุม และคณะทำงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 10 คน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งความเสี่ยงโรค NCDs / การจัดการอาชีพและการเก็บออม เพื่ออนาคต
6) มีแนวทางจัดกระบวนการเรียนรู้เพิ่มศักยภาพคณะทำงานทั้งหน่วยบริการฯ และศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดฯ ในการให้คำปรึกษาแนะแนวการดูแล ใส่ใจ ฟื้นฟูเยียวยา ด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

การเริ่มต้นกิจกกรรมต่อไปดังนี้
1) ทบทวนขัอมูลพื้นฐานของหน่วยบริการ และจะเก็บ วิเคราะห์ สังเคราะห์ขัอมูลเพื่อการใช้งาน
2) คณะทำงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัด จะนำแผนปฏิบัติการหน่วยบริการชุมชนทั้ง 4 หน่วย นำเสนอสำนักงานแรงงานจังหวัดฯ เพื่อนำไปบูรณาการการทำงานและสนับสนุนหน่วยบริการต่อไป
3) จัดเวทีสรุปบทเรียนเพื่อได้บทเรียนสำหรับนำไปใช้ขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียงเพิ่มอีกจำนวน 6 อำเภอ ต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*