ท้องถิ่น

กลุ่มชาติพันธ์ุชาวกะเหรี่ยง ปลื้มร่มโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย จัดงานพิธีวัฒนธรรมท้องถิ่นผูกข้อต่อแขนที่สืบทอดต่อกันมาแต่อดีต

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b9%8c%e0%b8%b8%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%ab

กลุ่มชาติพันธ์ชาวกะเหรี่ยงที่มาทำงานในจังหวัดสมุทรปราการ ปลื้มร่มโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย ที่ได้มาทำงานและได้จัดงานพิธีวัฒนธรรมท้องถิ่นผูกข้อต่อแขนที่สืบทอดต่อกันมาแต่อดีต

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่วัดชัยมงคล ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ นายวิชัย จันทร์จำรูญ วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ พร้อม พล.ต.ต.วสันต์ บุญเจริญ ที่ปรึกษาวัฒนธรรมจังหวัดฯ ร่วมกับ นายประกิต ศิลพิพัฒน์ ประธานชมรมผู้สื่อข่าวสมุทรปราการ  สำนักงาน กอ.รมน.จังหวัดสมุทรปราการ เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมพิธีผูกข้อต่อแขน ประเพณีท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธ์ชาวกระเหรี่ยง ที่ร่วมกันจัดขึ้น โดยมีพี่น้องชาวกระเหรี่ยงที่มาทำงานและใกล้เคียงเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนหลายหมื่นคน

ภายในกิจกรรม ได้จัดให้มีพิธีทำบุญทอดผ้าป่า ถวายผ้าไตยจีวร พร้อมจัดให้มีเครื่องประกอบพิธีต่างๆ โดยเฉพาะข้าวสุกปั่นที่มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ดอกไม้สื่อถึงความสดใส ส่วนเส้นด้ายเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์ ซึ่งถูกส่งผ่านพิธีผูกข้อมือต่อแขน หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกว่า “กี่จือราคุ” เป็นการเรียกขวัญกำลังใจให้กับมาสู่กับตัวเอง หวังปัดเปาโรคภัยและอาการเจ็บป่วย  ซึ่งเป็นความเชื่อต่อธรรมชาติที่ชาวกระเหรี่ยงให้ความเคารพ

สำหรับพิธีผู้ข้อต่อแขนครั้งนี้  นอกจากจะเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มชนชาติพันธ์ชาวกระเหรี่ยงที่ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมานานหลายปี ยังเป็นการร่วมตัวของพี่น้องชาวกระเหรี่ยงทั้งจากฝั่งไทยและฝั่งพม่า ที่ได้มาทำงานในจังหวัดสมุทรปราการและใกล้เคียงได้มีโอกาสพบปะสังสรรและยังเป็นการร่วมงานบุญในสืบทอดวัฒนธรรมตนเองให้สืบทอดต่อไป

โดย งานประเพณีผู้ข้อต่อมือ เป็นประเพณีที่ชาวกระเหรี่ยงยึดถือปฏิบัติติดต่อกันเป็นประจำทุกปี โดยพิธีจะจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 8 ถึง 15 ค่ำ เดือน 9 เป็นประจำทุกปี เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมของชาวกระเหรี่ยง ที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในตัวเรามีขวัญเป็นของตนเอง โดยการผูกข้อต่อแขนจึงเป็นประเพณีรับขวัญ ที่จัดขึ้นเพื่อเรียกรับขวัญลูกหลานของตนให้กลับมาอยู่กับตัว เปรียบเหมือนเรียกกำลังใจ เป็นความรู้สึกทางจิตให้กลับมาต่อสู่ เมื่อขวัญดี จิตใจดี ก็จะเป็นกำลังที่จะต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆที่เข้ามาในชีวิตต่อไปได้

ทั้งนี้ ก่อนกิจกรรมประเพณีจะเริ่มขึ้น กลุ่มชาติพันธ์ชาวกระเหรี่ยงได้ร่วมกันร้องเพลงเฉลิมพระชนม์พรรษาแด่องค์พระมหากษัตริย์ไทย แสดงความจงรักภักดีที่พระองค์ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ไม่มีการแบ่งชาติชนชั้นในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย แม้ตนเองจะมาจากหลายที่ไกลบ้าน แต่ทุกคนได้มีโอกาสมาร่วมตัวกันในงานพิธีทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน ทำให้คนกระเหรี่ยงหลายคนอุ่นใจเปรียบเสมือนได้อยู่บ้านเกิดตนเองเช่นกัน
0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*