ข่าวประชาสัมพันธ์

รู้ทัน ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%89%e0%b8%b5%e0%b8%a2

รู้ทัน ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เนื่องจากสมองและกล้ามเนื้อขาดเลือดไปเลี้ยง

อาการของโรคหัวใจวาย

มีอาการเหนื่อยง่าย การใช้ชีวิตประจำวันอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การเดิน วิ่ง ออกกำลังกาย หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เท่าเดิม ซึ่งหากอาการหนักขึ้นจะมีภาวะเหนื่อยหอบ ไม่ว่าตอนนั่งหรือตอนนอน , ตัวบวม , ขาบวม , หมดสติ หรือกระทั่งเสียชีวิตฉับพลันได้

สาเหตุของโรคหัวใจวายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. กลุ่มจากตัวหัวใจเอง เช่น ภาวะหลอดเลือดตัวใจตีบ ที่มักเกิดง่ายกับคนมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันสูง
  2. กลุ่มจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เป็นได้จากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ แม้กระทั่งโควิด-19 ก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงที่เกิดจากความดันโลหิตสูงระยะเวลานานทำให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวได้อย่างเหมาะสมเหมือนเดิม
  3. กลุ่มที่มีสภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือหัวใจตีบมานาน ก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
  4. กลุ่มนอกเหนือจากหัวใจ ได้แก่ อวัยวะต่างๆ หรือระบบต่างๆ ที่ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดทำงานหนักมากขึ้นได้แก่ โรคโลหิตจาง โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคไตวายทั้งแบบฉับพลัน หรือเรื้อรัง ก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

ปัจจัยเสี่ยงภาวะหัวใจวาย

  1. บุหรี่มวน/บุหรี่ไฟฟ้า เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของโรคหัวใจทุกประเภท
  2. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Metabolic Syndrome) ได้แก่ ไขมัน ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน หากควบคุมไม่ได้อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ในอนาคต
  3. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจวาย หรืออายุที่เพิ่มขึ้น

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงอาหารที่รสชาติเค็ม อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และบริโภคผักผลไม้ให้มากขึ้น
  2. หยุดสูบบุหรี่
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. ตรวจสุขภาพประจำปี

หัวใจวายดูเป็นคำที่น่ากลัว แต่ความจริงแล้วเป็นภาวะที่สามารถป้องกันและรักษาได้ถ้าเราได้รับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันปกติได้อย่างคนทั่วไป

โดย นพ.อดิกันต์ ภาษีผล
แพทย์ชำนาญการด้านหัวใจและหลอดเลือด
แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร. 0-2109-3222 ต่อ 10115-10116

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*