สังคมท้องถิ่น

ชาวสมุทรปราการ พร้อมใจเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b9%80

ชาวสมุทรปราการเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในฐานะหน่วยงานอนุญาต โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

นายสมศักดิ์ แก้วเสนา นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงานอนุญาต โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ของ กฟผ. เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนนำไปประกอบการพิจารณาอนุญาต พร้อมด้วย ผู้แทนสำนักงานงาน กกพ. คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ประชาชนในพื้นที่ ส่วนราชการ องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนที่สนใจ ร่วมงานเกือบ 500 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ และผู้แสดงความคิดเห็นด้วยวาจา ร่วมด้วย ณ เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566

นายสมศักดิ์ แก้วเสนา เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพระนครใต้อยู่คู่กับจังหวัดสมุทรปราการมาอย่างยาวนาน นับเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าสำคัญที่ขับเคลื่อนพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ทั้งในภาคการผลิต อุตสาหกรรม ธุรกิจและการบริการ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยจำนวนมาก การจัดหาแหล่งพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Revision 1) เพื่อรักษาปริมาณสำรองไฟฟ้าให้รองรับการเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

น.ส.ปิยนุช กลั่นสอน ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและตรวจติดตามกิจการพลังงาน กกพ. เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 2,490 เมกะวัตต์ ทำให้โรงไฟฟ้าพระนครใต้มีกำลังผลิตติดตั้งสูดสุดรวมเป็น 4,489.60 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EHIA) ซึ่ง กฟผ. ได้เสนอรายงานฯ ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพลังงาน (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ เป็นผู้จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอความเห็นและข้อห่วงกังวลได้ครอบคลุมทุกมิติ โดยคณะกรรมการจะสรุปความเห็นต่าง ๆ เสนอต่อ กกพ. ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาตามลำดับต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*