อาชญากรรม

กรมศุลกากรตอบรับนโยบายในการป้องกันและปราบปรามหมูเถื่อนเชิงรุก

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2

วันนี้ (24 ตุลาคม 2566) นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (23 ตุลาคม 2566) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อนอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์) อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมศุลกากร และรองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โดยท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการให้กรมศุลกากรอำนวยความสะดวกกรมปศุสัตว์ในการนำเนื้อและชิ้นส่วนสุกร (ของกลาง) ในคดีพิเศษที่ 59/2566 จำนวน 161 ตู้ ไปทำลาย และให้กรมศุลกากรปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหลีกเลี่ยงนำเข้าเนื้อสุกรเข้ามาในราชอาณาจักรเชิงรุก

ปัจจุบัน กรมศุลกากรได้มีการดำเนินการกับตู้สินค้าประเภทตู้เก็บความเย็นที่อายัดไว้เพิ่มเติมในเขตท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 92 ตู้ โดยได้ทำการเปิดสำรวจเรียบร้อยแล้ว พบเป็น เนื้อและเครื่องในสุกรจากประเทศบราซิล เนเธอแลนด์ และเกาหลีใต้ จำนวน 13 ตู้ น้ำหนักรวม 343,070.23 กิโลกรัม และสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนไก่ เนื้อและเครื่องในโคกระบือ จำนวน 79 ตู้ น้ำหนักรวม 2,216,598.81 กิโลกรัม ซึ่งกรมศุลกากรจะดำเนินการประสานกับกรมปศุสัตว์เพื่อส่งมอบและนำไปทำลายตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต่อไป

โฆษกกรมศุลกากร กล่าวต่ออีกว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด และให้พนักงานสอบสวนส่งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่ออายัดทรัพย์สินผู้กระทำความผิดต่อไป ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหลีกเลี่ยงนำเข้าเนื้อสุกรเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม โดยจะประสานกับกรมปศุสัตว์ในกรณีที่มีการตรวจพบซากสุกรเถื่อนในห้องเย็นต่าง ๆ หากมีข้อมูลที่อ้างอิงหรือเชื่อมโยงได้ว่ามีการนำเข้าซากสุกรนั้นมาจากการสำแดงเท็จในใบขนสินค้าฉบับใด ผู้ใดเป็นผู้นำของเข้า กรมศุลกากรจะดำเนินการระงับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรผู้นำเข้ารายนั้นทันที และจะดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*