ข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่องไม่เบาของคุณแม่กับ เบาหวานขณะตั้งครรภ์

%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%81%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%81

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะเจอช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ สามารถส่งผลเสียต่อแม่และทารกในครรภ์ได้

ซึ่งปัจจุบันเบาหวานขณะตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การคุมเบาหวานด้วยอาหาร 2. การคุมเบาหวานด้วยการใช้ยา ซึ่งยาที่ว่าคือ Insulin

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจเบาหวาน ยกเว้นในรายที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ คุณแม่ที่มีภาวะอ้วน / BMI > 25 หรือคนที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง รวมถึงเคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในครั้งก่อนและลูกออกมาน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์หรือตัวโตเกินไป และระหว่างการฝากครรภ์จะมีการตรวจปัสสาวะหากตรวจพบว่ามีน้ำตาลรั่วในปัสสาวะ ซึ่งภาวะนี้มีเสี่ยงสูงที่ควรรีบตรวจเบาหวานทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์

การดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  1. การควบคุมอาหาร คือเมื่อรับประทานคาร์โบไฮเดรตควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว อัลมอนด์ ผัก ผลไม้ และไม่ควรเลือกผลไม้ที่มีรสหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา อกไก่
  2. การออกกำลังกาย เช่น การเดิน การเต้นแอโรบิคเบาๆ การว่ายน้ำ การบริหารแบบยืดเส้น และการเล่นโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ผลกระทบที่มีต่อแม่และลูก

  1. การเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์ คือลูกอาจจะตัวใหญ่ไป หรือตัวเล็กเกินไป
  2. มีภาวะคลอดยาก หรือคลอดติดไหล่
  3. มีภาวะหายใจเร็วหลังคลอดหรือมีภาวะที่ปอดพัฒนาช้า
  4. ทารกแรกคลอดน้ำตาลต่ำ
  5. คุณแม่มีโอกาสสูงที่เป็นโรคเบาหวานหลังคลอด

สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไม่ควรเครียดมากจนไปเกินไป เพียงคุณแม่มีวินัยในการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และมาตรวจตามแพทย์นัดเสมอ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โดย พญ.รวิตา ชัยชนะลาภ
แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ โทร.0-2109-3222 ต่อ 10240-10241

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*