อาชญากรรม

กรมศุลกากรจับกุมชาวอินเดียพยายามลักลอบนำสัตว์บัญชี CITES ออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99

วันนี้ (6 มีนาคม 2567) นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายให้กรมศุลกากรเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหลีกเลี่ยงนำเข้า – ส่งออกของที่มีภาระค่าภาษี ของผิดกฎหมาย ของต้องห้าม ต้องกำกัด นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้ามาในและการนำออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย

โดยเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนควบคุมทางศุลกากร ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ได้บูรณาการร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จับกุมผู้โดยสารชายชาวอินเดีย จำนวน 5 ราย และผู้โดยสารหญิงชาวอินเดีย จำนวน 1 ราย พยายามลักลอบนำสัตว์ มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปลายทางเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย โดยพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กิ้งก่า (Black Throat Monitor,อื่น ๆ) 29 ตัว งู (Corn Snake, Red Bamboo, อื่นๆ) 21 ตัว นก (Bird of Paradise, นกแก้วปากใหญ่, อื่น ๆ) 15 ตัว ตะกวด 7 ตัว จิ้งเหลน 4 ตัว กระรอกตาแดง 2 ตัว ค้างคาว 2 ตัว ลิงหัวสำลี (Cotton Top) 2 ตัว เสือปลา 1 ตัว แพนด้าแดง 1 ตัว หมี Sulawesi Bear Cuscus 1 ตัว กบ 1 ตัว และ หนู 1 ตัว รวมทั้งสิ้นจำนวน 87 ตัว โดยของกลางทั้งหมด ได้บรรจุซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ผู้โดยสารจะโหลดใต้ท้องเครื่อง

โฆษกกรมศุลกากร กล่าวต่ออีกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานพยายามส่งออกไป นอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มาตรา 242 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ประกอบกับสัตว์ดังกล่าวบางรายการอยู่ภายใต้การควบคุมตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ภายใต้พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 23 วรรคแรก และมาตรา 112 และเป็นความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และมาตรา 92 วรรค 2 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*