ข่าวประชาสัมพันธ์

“สงกรานต์พระประแดง มิติความรุนแรงจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”

%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%87-%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%b4

ศูนย์อำนวยการเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน อุบัติเหตุ 7 วันอันตราย 2,044 ผู้บาดเจ็บ 2,060 คน ผู้เสียชีวิต 287 ราย (รวมชาวต่างชาติ5 ราย) สูงขึ้นกว่าปี 2566 จำนวน 264 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 7 จังหวัดได้แก่ นครนายก บึงกาฬ พังงา แม่ฮ่องสอน สตูล สมุทรสงคราม หนองคาย จังหวัดที่มีอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย 82 ครั้ง บาดเจ็บสะสมสูงสุด จังหวัดแพร่ จำนวน 80 คน และจังหวัดเชียงรายมีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด 17 ราย ก่อน 7วันอันตรายคาดว่าจะลดลง 5 %(ไม่เกิน251 คน)เมื่อผ่าน 7วันอันตรายผ่านไป พบว่า เพิ่มขึ้น 14 % (287 คน) ความรุนแรงจากอุบัติเหตุ ที่ยังไม่รวมถึงการรายงานด้านอาชญากรรมความรุนแรงต่างๆ

ผลการวิจัย ของ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พรมฉลวย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ ร่วมกับ นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ภาคประชาชน รายงานผลสำรวจในพื้นที่อำเภอพระประแดงมีประชากรตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 484 ตัวอย่าง แบ่งเป็น เพศชาย 54 % เพศหญิง 46 % ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 40 ปี – 49 ปี มีสถานภาพสมรสมากที่สุด นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 84.3

ผลวิจัยชี้ประชาชนมีความรู้สึกและความกังวลมากที่สุดใจในเรื่องการทะเลาะวิวาท หากมีการจัดสงกรานต์พระประแดง จำนวน 332 คน คิดเป็นร้อยละ 68.6 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ร้อยละ63.14และยังขาดความรู้ความเข้าใจร้อยละ 36.86

เมื่อสรุปผลสำรวจความคิดเห็นแบ่งเป็น 4 ด้าน พบว่า ประชาชนให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เป็นอันดับ 1 ได้แก่ การจัดการ ขยะ น้ำ เสียง ฝุ่น ควันจากการจราจร ที่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนเมื่อจัดงาน อันดับ 2 ด้านวัฒนธรรมประเพณี ในพื้นที่มีความตระหนักในการอนุรักษ์และสืบสานต่อไปนับเป็นจุดแข็งของพื้นที่มากที่สุด อันดับ 3 ด้านสังคม คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญผลการดำเนินชีวิตแบบ วิถีใหม่ และด้านเศรษฐกิจ อันดับที่ 4 ที่ประชาชนให้ความสำคัญ และเป็นข้อเสนอต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนของพื้นที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์พระประแดง สำรวจเมื่อวันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563 ซึ่งจะมีการนำไปเปรียบเทียบในปี 2567 ต่อไป

ผลวิจัยยังพบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีค่าเฉลี่ยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 63.14 แบ่งเป็น รู้และเข้าใจว่าอำเภอพระประแดง มีชื่อเดิมว่า เมืองนครเขื่อนขันธ์ ร้อยละ 98.6 ไม่ทราบร้อยละ 1.7 สงกรานต์พระประแดงเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด” ของชาวไทยรามัญ ร้อยละ 96.9 และทราบว่าสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ร้อยละ 86.8 และทราบว่าในอดีตมีประเพณีส่งข้าวสงกรานต์ 3วัน ในช่วง 13-15 เมษายน ร้อยละ 51.4 การแห่นางสงกรานต์และหนุ่มน้อยลอยชายและสะบ้ารามัญคือหัวใจของงานสงกรานต์ ร้อยละ 43.2 ขบวนแห่ปล่อยนกปล่อยปลาที่วัดโปรดเกศเชษฐารามร้อยละ 38.2 ทราบว่าอดีตสงกรานต์พระประแดงจัดขึ้นในวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี ร้อยละ46.1 สงกรานต์พระประแดงเป็น 1 ใน 4 มหาสงกรานต์ 4ภาค ของ ททท.ร้อยละ 49.6

ด้านการทำการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาชนส่วนใหญ่ “เคย” พบเห็นโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการประชาสัมพันธ์การจัดงานสงกรานต์พระประแดง จำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 58.9 โดยสื่อหรือช่องทางที่ประชาชนพบเห็นโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในการจัดงานสงกรานต์พระประแดง มากที่สุดคือ กิจกรรมหรืออีเว้นท์ต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 41.95 “เคย” พบเห็นหรือได้ยินการรณรงค์เกี่ยวกับสงกรานต์ปลอดเหล้าหรือการกำหนดโซนนิ่ง (Zoning) พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าในประเพณีสงกรานต์พระประแดงในปีที่ผ่านมา จำนวน 336 คน คิดเป็นร้อยละ 69.5 และประชาชน“ทราบ” นโยบายและมาตรการคำสั่งปิดร้านค้าหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ในช่วงประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 387 คน คิดเป็นร้อยละ 80
ภาคประชาชนยังรายงานข้อมูลประเทศสมาชิก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ยืนยันว่าเหล้าเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ 200 โรค อุบัติเหตุ ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครอบครัว ชุมชน สังคม ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ที่มีภารกิจด้านการศึกษาวิจัยร่วมภาคีเครือข่าย ระบุ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา”

ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ รายงานคนไทยเป็นโรคตับแข็งตาย 15.476 คน สูญเสียปีสุขภาวะ 594124 ปี (ปีสุขภาวะหมายถึงปีที่คนไทยสูญเสียไปกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร 62) โดยกลุ่มอายุ 30-59 ปี สูญเสียปีสุขภาวะจากโรคตับแข็ง โดรคเรื้อรังอื่นๆ 452,975 ปี มะเร็งตับ 292,761 ปี ซึ่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ บุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อันตรายมาก เสียงไซเรนช่วง 7 วันอันตราย สะท้อนผ่านข้อมูลจากกรมควบคุมโรค61 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติทางถนนที่มีการนำส่งโรงพยาบาล มากกว่า 50% พบว่ามีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจแอลกอฮอล์ไม่ได้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และส่งต่อวาทกรรมดื่มอย่างรับผิดชอบ ทั้งๆที่มันไม่มีอยู่จริง.. เศรษฐกิจแบบไฟไหม้ฟางต้องระวังเป็นไฟไหม้บ้านประชาชน

กรณีศึกษา ความต้องการของเด็กและเยาวชนจังหวัดสมุทรปราการจากการงานสำรวจ โดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ พรหมฉลวย มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรีจังหวัดสมุทรปราการ นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ภาคประชาชน ผศ.ดร.จักรพันธ์ พรมฉลวย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ กล่าวถึงการรายงานผลการสํารวจความคิดเห็นเด็กเยาวชน เรื่อง ผลลัพธ์สุขภาวะและการเสริมสร้างสุขภาวะสำหรับเด็กและเยาวชน ของหน่วยจัดการด้านเด็กและเยาวชน จังหวัดสมุทรปราการ เทียบสัดส่วนตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้วิธีการประเมินตามลําดับหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. ประชากร 2. เครื่องมือที่ใช้ในการสํารวจ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ ข้อมูลและประมวลผล พบว่า สุขภาวะทางกาย 3.85 มากที่สุดอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ สุขภาวะทางสังคม 3.59 สุขภาวะทางปัญญา 3.25 และสุขภาวะด้านจิตใจ 3.03

4 ด้านในผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบ่งเป็นด้านละ 5 อันดับ
สุขภาวะทางกาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 3.85) รายข้อ พบว่า อันดับที่ 1 การเข้าร่วมกิจกรรม ทําให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ยาบ้า การพนัน เป็นต้น อันดับ 2 การเข้าร่วมโครงการที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 3.เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการกําหนดรูปแบบกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะด้านร่างกาย 4.กิจกรรมที่เด็กและเยาวชนเข้าร่วม สามารถเสริมสร้างพัฒนาการทางกายได้อย่างสมดุล และ5.การร่วมโครงการ/กิจกรรม ทําให้ท่านมีความคล้องแคล้ว กระชับกระเฉง ตามลําดับ

สุขภาวะทางใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.03) รายข้อ พบว่า 1.เด็กและเยาวชน ”มีความสุข” ทุกครั้งเมื่อได้มาทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ 2. เด็กและเยาวชนมีความยินดีทุกครั้ง ที่สมาชิกในกลุ่มได้รับคําชื่นชม หากท่านทําสิ่งที่ผิดพลาด 3.เด็กและเยาวชนสามารถเปิดใจรับฟังคําแนะนําจากคนอื่นได้โดยไม่มีรู้สึกน้อยใจ หรือโกรธ จากการเข้าร่วมโครงการ 4.เด็กและเยาวชนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในการทํากิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทํางาน การเรียน เป็นต้น และ 5.กิจกรรม ทําให้เด็กและเยาวชนกล้าแสดงออกกล้าพูด กล้าทํา ในสิ่งที่ถูกต้อง ตามลําดับ

สุขภาวะทางสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.59) รายข้อ พบว่า 1.เด็กและเยาวชน ”มีความสุข” ทุกครั้งเมื่อได้มาทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ 2. การร่วมโครงการ ทําให้เด็กและเยาวชนอยากเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น ทําความรู้จักคนอื่นเพิ่มขึ้นเรียนรู้สิ่งรอบตัว 3.กิจกรรมที่เด็กและเยาวชนเข้าร่วม สอดแทรกวิธีการอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข 4.เด็กและเยาวชนสามารถพูดคุย สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ต้องการบอกกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ5.เด็กและเยาวชนเสียสละให้ผู้อื่นก่อนเสมอ ตามลําดับ

สุขภาวะทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.25) รายข้อ พบว่า 1.เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ และมีความสุขทุกครั้ง เมื่อท่านประสบความสําเร็จ 2. การเข้าร่วมโครงการ ทําให้ท่านมีความรู้ ทักษะมากขึ้นกว่าเดิม 3.เด็กและเยาวชนเข้าใจความ “ผิด ชอบ ชั่ว ดี “ รวมทั้งยังสามารถประพฤติปฏิบัติตนตามความดีงามของชีวิต จากการเข้าร่วมโครงการ 4.ทําให้ท่านเป็นผู้ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น จากการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจนกลายเป็นวิถีชีวิต 5.เด็กและเยาวชนมีเทคนิคและวิธีในการปฏิเสธการกระทําที่ไม่ถูกต้อง ตามลําดับ

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยยังมีนัยสำคัญ กรณีสุขภาวะทางกาย อันดับ 1 คือ การเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ยาบ้า การพนัน

สุขภาวะด้านจิตใจ เด็กเยาวชนมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมในพื้นที่ปลอดภัย ส่งผลเปลี่ยนแปลงอันดับ 1 จากข้อมูลการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสุขที่ปลอดภัย โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตรงตามความต้องการของเด็กและเยาวชนที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางกายเป็นอันดับต้นๆ ช่วยลดพื้นที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง จากบุหรี่ไฟฟ้า กระท่อม กัญชา สุรา ยาสูบ สิ่งเสพติดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาสังคม ซึ่งไม่ตรงตามความต้องการของเยาวชนที่ควรได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมกับวัย

นายธิติภัทร สิทธิกฤษ รายงานผลการส่งเสริมสนับสนุนพื้นที่สร้างสรรค์ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนช่วยเพิ่มพื้นที่สุข ลดพื้นที่เสี่ยง และการสร้างความร่วมมือบูรการภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้เกิดการผลักดันให้เกิดความต่อเนื่องเกิดเป็นค่านิยมที่ดี มิใช่แค่มิติมาตรการ การป้องกัน ควบคุมทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสะท้อนกลไกการบังคับใช้กฎหมายชัดเจนถึงข้อจำกัดต่างๆ เสียงของประชาชนที่ไม่ดื่มมีมากกว่าข้อมูล ศวส.สะท้อนประชากรไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่ดื่มสุราโดยเฉพาะประชากรเพศหญิงเกือบร้อยละ 80 ไม่เคยดื่มสุราเลยในชีวิต และอีกร้อยละ 10 เคยดื่มแต่หยุดดื่มไปแล้วในปัจจุบัน เสียงของประชาชนที่ไม่ดื่มจึงควรดังกว่า และได้รับความสนุกสนานที่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*