สังคมท้องถิ่น

วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ รับการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97-5

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 4 วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ นายสถาพร โฉมศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ พร้อมด้วยจ่าสิบเอก ดร.สมพร ชูทอง ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนรองผู้อำนวยการวิทยาลัย, คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ร่วมให้การต้อนรับคณะอนุกรรมการประเมินสถานศึกษา ระดับภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานคร เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยมีนางอโนทยา เรืองศรี ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการประเมินฯ พร้อมด้วยนายวิสูตร สุจิระกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ, นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี, นายมานพ กลิ่นทรัพย์, นางสุมนา กันแย้ม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร และนางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการประเมินฯ ในครั้งนี้

โดยผู้บริหาร และคณะครู วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานในหัวข้อหลัก 5 ด้าน คือ 1. ด้านคุณภาพผู้เรียน 2. ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ 3. ด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษา 4. ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5. ด้านความดีเด่นของสถานศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2564 ของวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ

สำหรับประเด็นเด่นๆ ของวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ที่ถือว่าเป็นวิทยาลัยที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีงานทำ โดยเรื่องที่นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ ได้แก่ ด้านการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น ที่มีมาตรฐาน, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในระบบทวิภาคีแบบยั่งยืน ที่รับประกันได้ว่าผู้เรียนจะมีงานทำทุกคน และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ที่ได้มาตรฐานการอาชีวศึกษา

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*