สังคมท้องถิ่น

สคบ.พิจารณา ออกกฎกระทรวง ห้ามโฆษณากัญชากัญชงเพื่อการนันทนาการ

%e0%b8%aa%e0%b8%84%e0%b8%9a-%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%b2-%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%8e%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%87

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 9.3 0 น. ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.
ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค พิจารณาเรื่อง “การออกมาตรการควบคุมการโฆษณาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับกัญชากัญชงเพื่อการนันทนาการ”

โดยมี นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันระงับยับยั้งความเสียหายและอันตรายอันเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค เป็นประธานที่ประชุม โดยเป็นการประชุมต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว วันนี้ ที่ประชุมฯ ได้เชิญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บริษัท ณุศา ซีเอสอาร์ จำกัด และนายศรัณยู ประชากริช หรือ (บีม พลังใบ) ซึ่งเป็นมหาลัยแห่งรัฐซึ่งผลิตและวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์, บริษัทเอกชนซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับกัญชากัญชง และเป็นดาราพิธีกร และเป็นสื่อมวลชน ซึ่งมีชื่อเสียง (ตามภาพข่าว) ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับฟังข้อมูลให้ครบถ้วนและรอบด้าน ภายหลังจากที่ได้รับฟังข้อมูลจาก สถาบันกัญชาทางการแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย), สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต, แพทยสภา, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส. ) และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ) มาแล้ว

ภายหลังการรับฟังข้อมูล จากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนบุคคล รวมทั้งสิ้น 10 หน่วยงานแล้ว มีประชุมได้มีมติดังนี้ 1.ให้ “ข้อความที่มีลักษณะเป็นการโฆษณาเชิญชวนโดยตรงหรือทางอ้อมให้ใช้หรือบริโภคกัญชากัญชงหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชากัญชง เพื่อการนันทนาการ “ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมตามบทบัญญัติมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522

2.ให้นำเสนอ (ร่าง) กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณากัญชากันชงเพื่อการนันทนาการเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมและทำให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวมพ.ศ…. ซึ่งผ่านการพิจารณาของ “คณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค” แล้วไปยัง “คณะกรรมการว่าด้วยโฆษณา” ในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพิจารณา และหากเห็นชอบ จะได้มีการนำไปรับฟังความเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์ ) แล้วออกเป็น “กฎกระทรวง ฯ เพื่อมาควบคุมการโฆษณากัญชา กัญชง เพื่อการนันทนาการ” ต่อไป

0 Comments
Share

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*